สาระน่ารู้
ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำเขียนจดหมายยังไงให้เจ้าหนี้ยอมช่วย
หากเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหวการเขียน จดหมายเจรจากับเจ้าหนี้ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แล้วจะเริ่มต้นอย่างไร เรียบเรียงอย่างไร โพสต์นี้มีคำตอบ
ก่อนเริ่มเขียนจดหมาย ต้องเตรียมข้อมูลดังนี้
-
รู้ข้อมูลเจ้าหนี้ : ชื่อเจ้าหนี้ที่ถูกต้อง ช่องทางการส่งจดหมาย (อีเมล/ไปรษณีย์ลงทะเบียน)
-
รู้ข้อมูลตัวเอง : ตารางสำรวจภาระหนี้บันทึกรายรับ-รายจ่ายเอกสารประกอบ (สลิปเงินเดือน/ใบรับรองแพทย์กรณีป่วยจนขาดรายได้/ฯลฯ)
การเขียนจดหมายแบ่งเป็น 3 ส่วน
-
ย่อหน้าที่ 1 แนะนำตัวชื่อ-นามสกุลข้อมูลหนี้ (ประเภท/เลขที่สัญญา/ยอดหนี้)รายรับ-รายจ่ายสถานการณ์เงินปัจจุบัน
-
ย่อหน้าที่ 2 บอกปัญหาสาเหตุที่ชำระหนี้ไม่ได้ผลกระทบที่เกิดขึ้นระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบสิ่งที่พยายามแก้ไขไปแล้ว
-
ย่อหน้าที่ 3 ขอความช่วยเหลือเสนอแนวทางการชำระหนี้ที่ทำได้จริงให้ทางเลือกอย่างน้อย 1-2 แนวทางระบุช่องทางติดต่อกลับ
สิ่งสำคัญ
-
เขียนข้อมูลที่เป็นความจริง ตรวจสอบได้ แนบเอกสารประกอบครบถ้วนส่งเอกสารเพิ่มเติมตรงเวลาที่นัดหมาย หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ สามารถติดต่อ "ทางด่วนแก้หนี้" ได้ทางเว็บไซต์แบงก์ชาติ
ข้อดีของการเขียนจดหมายติดต่อกับเจ้าหนี้เพื่อขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
-
สามารถส่งเรื่องถึงเจ้าหนี้ได้โดยตรง
-
มีหลักฐานชัดเจน
-
ไม่ต้องประหม่าเวลาเจอหน้า
นอกจากนี้ ลูกหนี้ยังมีเวลาเรียบเรียงความคิดและข้อเสนอปรับโครงสร้างหนี้ที่ตนเองทำได้หรือจ่ายไหวอีกด้วย อ่านรายละเอียดและตัวอย่างการเขียนจดหมายเจรจากับเจ้าหนี้ ได้ที่ https://shorturl.asia/J64ERและสามารถค้นหาความรู้ทางการเงินอื่นๆได้ที่ สตางค์ story https://www.bot.or.th/th/satang-story.html
ที่มา : https://www.facebook.com/bankofthailandofficial