สาระน่ารู้
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 22 ตุลาคม 2567
วันนี้ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย |
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้)
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยาที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน)
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 150 ปี กรมศุลกากร พ.ศ. ....
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 3 พ.ศ. ....
8. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. ….
เศรษฐกิจ-สังคม |
9. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569)
ต่างประเทศ |
10. เรื่อง ร่างคำมั่นของประเทศไทยสำหรับการประชุมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศครั้งที่ 34
11. เรื่อง การลงนามร่างหนังสือให้คำมั่น (Letter of Commitment) เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามกรอบการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลแบบอัตโนมัติ (Multilateral Competent Authority Agreement on Automatic Exchange of Information pursuant to the Crypto-Asset Reporting Framework: CARF MCAA)
12. เรื่อง การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 11 ณ เมืองมะละกา มาเลเซีย
13. เรื่อง โครงการจัดทํารายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 และรายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 5 รวมกับรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 [Thailand’s First Biennial Transparency Report (BTR1) and combined Fifth National Communication and Second Biennial Transparency Report (NC5/BTR2)]
14. เรื่อง การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8
15. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57
16. เรื่อง สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
แต่งตั้ง |
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงวัฒนธรรม)
19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548
28. เรื่อง ขอถอนรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 2 คน
*****************************
กฎหมาย |
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เนื่องจากได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน จึงไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาในการตีความ กระทรวงมหาดไทยมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต หรือการประกอบอาชีพโดยไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนมากนัก โดยมีสาระสำคัญ เช่น กำหนดให้ผู้ซื้อที่ดินในโครงการจัดสรรที่ดินสามารถริเริ่มจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินไม่ดำเนินการให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลอื่นตามกฎหมาย หรือปล่อยปละละเลยให้สาธารณูปโภคของโครงการชำรุดทรุดโทรม หรือได้ละทิ้งหรือหลบหนี หรือเป็นบุคคลล้มละลาย เลิกบริษัทฯ หรือบริษัทฯ ร้างหรือโดยเหตุอื่นแก้ไขระยะเวลาการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคและแก้ไขบทกำหนดโทษสำหรับการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการของผู้จัดสรรที่ดินให้มีอัตราโทษที่สูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการดำเนินชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน
2. โดยที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมาในครั้งนี้ เป็นร่างพระราชบัญญัติ
ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดย 1) ตัดนิยาม “การจัดสรรที่ดิน” หมายความว่า การจำหน่ายที่ดินแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 20 แปลงขึ้นไป (ร่างมาตรา 3) และ 2) ตัดบทบัญญัติการให้ผู้ที่ยื่นคำขอทำการแบ่งแยกที่ดินเป็นจำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ 20 แปลงขึ้นไป และไม่สามารถแสดงได้ว่าการแบ่งแยกที่ดินนั้น ไม่ใช่เป็นการแบ่งแยกที่ดิน เพื่อการจัดสรรที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอดำเนินการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดิน และรอการดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินไว้ก่อน หากผู้ขอไม่เห็นด้วย สามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง (ร่างมาตรา 5) รวมทั้ง 3) ตัดบทบัญญัติให้การจัดสรรที่ดินที่มีที่ดินแปลงย่อยรวมกันไม่ถึง 20 แปลงและได้รับใบอนุญาตก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และให้อนุญาตใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิกการจัดสรรที่ดิน และกรณีได้มีการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดินก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขอที่ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะขอรับใบอนุญาตต่อไป (ร่างมาตรา 13) ออก โดยกลับไปใช้ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ที่กำหนดให้การจำหน่ายที่ดินแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปเป็นการจัดสรรที่ดิน เนื่องจากการจัดสรรที่ดินส่วนใหญ่จะแบ่งแยกที่ดินตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินให้อำนาจคณะกรรมการจัดสรรที่ดินในการกำหนดข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค และการผังเมือง เช่น
มีการกำหนดระบบและมาตรฐานของถนน ทางเดินและทางเท้า ระบบระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย การจำกัดขยะสิ่งปฏิกูล เป็นต้น หากกำหนดแบ่งแยกที่ดินตั้งแต่ 20 แปลงขึ้นไปจะทำให้ที่ดินตั้งแต่ 10 แปลง ถึง 19 แปลง ไม่อยู่ในข่ายของการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายนี้ อาจทำให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการแบ่งแยกที่ดินโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมหรือชุมชน เช่น ไม่มีระบบการระบายน้ำ หรือระบบบำบัดน้ำเสีย หรือไม่มีระบบกำจัดขยะสิ่งปฏิกูล เป็นต้น อาจส่งผลกระทบต่อสังคม หรือชุมชนในวงกว้างในอนาคตได้
3. กระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ และได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เรียบร้อยแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ที่ มท. เสนอ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วบางประการ สรุปได้ดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติที่ สคก. ตรวจแล้ว |
ร่างพระราชบัญญัติที่ มท. เสนอ |
|
ตัดออก เนื่องจากการจัดสรรที่ดินส่วนใหญ่จะแบ่งแยกที่ดินตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินให้อำนาจคณะกรรมการจัดสรรที่ดินในการกำหนดข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการสาธารณสุข การรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย |
ร่างมาตรา 3 บัญญัติให้ “การจัดสรรที่ดิน” หมายความว่า การจำหน่ายที่ดินแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 20 แปลงขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียวหรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน และหมายความรวมถึงการดำเนินการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไม่ถึง 20 แปลงและต่อมาได้แบ่งที่ดินเพิ่มเติมภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกครั้งหลังสุด แล้วรวมกันมีจำนวนตั้งแต่ 20 แปลงขึ้นไปด้วย |
|
|
|
ร่างมาตรา 5 บัญญัติให้ผู้ที่ยื่นคำขอทำการแบ่งแยกที่ดินเป็นจำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ 20 แปลงขึ้นไปและไม่สามารถแสดงได้ว่าการแบ่งแยกที่ดินนั้นไม่ใช่เป็นการแบ่งแยกที่ดินเพื่อการจัดสรรที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอดำเนินการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดินและรอการดำเนินการเรื่องการแบ่งแยกที่ดินไว้ก่อน หากผู้ขอไม่เห็นด้วยสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง |
|
|
|
ร่างมาตรา 13 บัญญัติให้การจัดสรรที่ดินที่มีที่ดินแปลงย่อยรวมกันไม่ถึง 20 แปลงและได้รับใบอนุญาตก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และให้อนุญาตใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิกการจัดสรรที่ดิน และกรณีได้มีการยื่นคำขอทำการจัดสรรที่ดินก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขอที่ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะขอรับใบอนุญาตต่อไป |
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในส่วนของกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จำนวน 4 หมวด ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3/1 (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้) โดยปรับเพิ่มจำนวนหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จากเดิม “ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท” เป็น “ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท” ในมาตรา 90/3 มาตรา 90/4 (1) และมาตรา 90/6 (2) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
2. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3/2 (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม) เป็นการยกเลิกเนื้อหาในหมวด 3/2 เดิมทั้งหมด เนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตราต่าง ๆ ในหมวดนี้จำนวนมาก โดยมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการเพื่อนำไปสู่สภาวะพักการชำระหนี้ ให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือคุ้มครองลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อมอย่างทันท่วงที และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ อาทิ แก้ไขเพิ่มเติมชื่อหมวด เป็น “กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม” นิยามคำว่า “ลูกหนี้” เพื่อแก้ไขคุณสมบัติลูกหนี้ที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หรือที่ไม่ได้จดทะเบียน กับหน่วยงานอื่นของรัฐสามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ แก้ไขจำนวนหนี้ขั้นต่ำ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนหนี้ที่กำหนดไว้ในคดีล้มละลาย ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 เป็นต้น
3. กำหนดให้มีหมวด 3/3 (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัด) เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกหนี้ที่เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ (ลูกหนี้ตามหมวด 3/1) และลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (ลูกหนี้ตามหมวด 3/2) สามารถเลือกยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูกิจการให้รวดเร็ว
4. กำหนดให้มีหมวด 3/4 (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา) เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประจำและมีหนี้อันอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท หรือประกอบกิจการที่มีหนี้อันอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูฐานะได้
การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ในครั้งนี้จะทำให้มีมาตรการทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อมที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวหรือได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) รวมถึงลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาให้ได้มีโอกาสได้รับการฟื้นฟูกิจการหรือฐานะและไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งจะเป็นการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมในเชิงบวก
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาการจัดการและสาขาวิชาเทคโนโลยี แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของครุยวิทยฐานะ โดยให้ใช้สีประจำคณะ วิทยาลัย หรือสถาบันเป็นส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ รวมทั้งกำหนดสีประจำวิทยาลัยและสถาบันของวิทยาลัยนานาชาติและสถาบันวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและวัฒนธรรม ดังนี้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยาฐานะ เข็มวิทยฐานะและครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 |
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยาฐานะ เข็มวิทยฐานะและครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ .... |
มาตรา 3 ให้กำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ดังต่อไปนี้ |
มาตรา 3 ให้กำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ดังต่อไปนี้ |
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดปริญญาในสาขาวิชาอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร รวม 15 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การแพทย์แผนไทย (3) การศึกษา (4) เทคโนโลยี (5) นิติศาสตร์ (6) นิเทศศาสตร์ (7) บริหารธุรกิจ (8) รัฐประศาสนศาสตร์ (9) รัฐศาสตร์ (10) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (11) วิทยาศาสตร์ (12) วิศวกรรมศาสตร์ (13) ศิลปศาสตร์ (14) เศรษฐศาสตร์ และ (15) สถาปัตยกรรมศาสตร์
2. ต่อมามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้เปิดสอนสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์เพิ่มขึ้น ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ครั้งที่ 17/2565 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566) และสำนักงานปลัดกระทรวง อว. รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว
3. อว.จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชา มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
(ก) เอก เรียกว่า “ดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ ดศ.ด.” และ “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ปร.ด.”
(ข) โท เรียกว่า “ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ดศ.ม.”
(ค) ตรี เรียกว่า “ดุริยางคศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อ “ดศ.บ.”
3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ สีเขียวเข้ม
5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยาที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยเยียวยาที่ได้รับจากกรมประมงตามโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาฯ
กค. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีให้เจ้าของเรือประมงในการมีทุนในการประกอบอาชีพอื่น และบรรเทาหนี้สินอันเกิดจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเรือ อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน เห็นควรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่เจ้าของเรือประมง สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการชดเชยเยียวยาจากกรมประมง เนื่องจากการเข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) (ช่วงปี 2562 - 2563) และระยะที่ 2 (ช่วงปี 2565 - 2566) จึงยืนยันให้ดำเนินการนำร่างพระราชกฤษฎีกา ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
1. ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี |
- บุคคลธรรมดา |
2. สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
- ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการชดเชยเยียวยาจากกรมประมง เนื่องจากการเข้าร่วมโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) (ช่วงปี 2562 - 2563 ) และระยะที่ 2 (ช่วงปี 2565 – 2566) (บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเรือประมงไม่ต้องนำเงินชดเชยเยียวยาดังกล่าวมายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีภาษี) |
3. วันบังคับใช้ |
- วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป |
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 150 ปี กรมศุลกากร พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 150 ปี กรมศุลกากร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังลักษณะและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 150 ปี กรมศุลกากร พ.ศ. .... เป็นการกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาทเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ 150 ปี กรมศุลกากร ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เพื่อน้อมรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงก่อตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกรมศุลกากร และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจของกรมศุลกากรให้หน่วยงาน องค์กร และประชาชนทั่วไปได้ทราบ ซึ่งกระทรวงการคลังได้รับพระราชทานพระบรมราชนุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวมาจากเงินหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ2567 ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้และจะตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ต่อไป
2. ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณ์อื่นๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบ 150 ปี ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2567
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว แต่เนื่องจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นการออกกฎกระทรวงขึ้นใหม่เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวงทั้ง 5 ฉบับ ซึ่งร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ยังคงมีหลักการเช่นเดียวกับกฎกระทรวงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตผลิตนำเข้า ส่งออกหรือจำหน่าย ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่มีลักษณะเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ (ยาเสพติดในประเภท 3 ได้แก่ ยาแก้ไอที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น)
2. กำหนดคำนิยามคำว่า “ขายส่ง” โดยกระทรวงสาธารณสุขขอปรับเพิ่มถ้อยคำในบทนิยามคำว่า “ขายส่ง” หมายความว่า การจำหน่ายโดยตรงให้แก่ (1) ผู้รับอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือจำหน่ายโดยการขายส่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เพื่อให้สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวง การอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 พ.ศ. ....
3. กำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต (ปรับปรุงให้สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยยา โดยเพิ่มเติมผู้ขออนุญาตจำหน่ายยาเสพติดในประเภท 3 โดยการขายส่ง)
4. กำหนดให้การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต ให้ดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก (กำหนดขึ้นใหม่) และกำหนดให้ใบอนุญาตมีอายุถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต และหากประสงค์จะต่อใบอนุญาตให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นผล (คงเดิม)
5. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ไม่เกินอัตราที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดกำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นอัตราเดียวกับกฎกระทรวงฉบับเดิม และได้ปรับปรุงจากกฎกระทรวงฉบับเดิม เช่น เพิ่มเติมค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยการขายส่ง ฉบับละ 1,000 บาท เพื่อให้สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยยา และแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะคราวยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เป็นฉบับละ 500 บาท (เดิม 100 บาท) เพื่อให้สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออกหรือจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท พ.ศ. ….
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
8. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
1. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบของนายจ้างและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างตามมาตรา 47 วรรคสอง และการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรงจากวาตภัยและอุทกภัยในงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 ถึงงวดเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างและผู้ประกันตน
2. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนการออกเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของนายจ้าง ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง โดยให้การลดหย่อนการออกเงินสมทบมีผลใช้บังคับในงวดเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ถึงงวดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568
สาระสำคัญ
1. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติ พ.ศ. .... (เดิม ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้)
ประเด็น |
สาระสำคัญของร่างประกาศ |
1. วันที่ใช้บังคับ |
ㆍให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2567 |
2. จังหวัดที่ได้รับการขยายกำหนดเวลายื่นแบบรายการฯ และการนำส่งเงินสมทบตามมาตรา 47 |
รวม 42 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ พะเยา พังงา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย สตูล สระบุรี สุโขทัย สุราษฎร์ธานี หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อุดรธานี และอุตรดิตถ์ |
3. บุคคลที่จะต้องยื่นแบบรายการฯ และการนำส่งเงินสมทบในงวดเดือนที่ขยายกำหนดเวลายื่นแบบฯ |
ㆍนายจ้างที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างตามมาตรา 34 และขึ้นทะเบียนลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 |
4. บุคคลที่จะต้องนำส่งเงินสมทบในงวดเดือนที่ขยายกำหนดเวลานำส่งเข้ากองทุน |
ㆍผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งมีทะเบียนประกันตนในท้องที่ที่กำหนดตามข้อ 2 ได้รับการขยายกำหนดเวลานำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนตามมาตรา 39 ดังนี้ |
2. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. ....
(1) กรณีนายจ้างซึ่งขึ้นทะเบียนนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ในท้องที่ที่กำหนดในข้อ 1. ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยให้นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราฝ่ายละร้อยละ 5 เป็นอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน
(2) กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งมีทะเบียนผู้ประกันตนในท้องที่ที่กำหนดในข้อ 1. ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยนำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราร้อยละ 9 เป็นอัตราร้อยละ 5.90 ของค่าจ้างของผู้ประกันตน คิดเป็นจำนวนเงิน จากเดือนละ 432 บาท เป็นเดือนละ 283 บาท ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ รง. ครั้งที่ 14/2567 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 มีมติเห็นชอบร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับแล้ว
เศรษฐกิจ-สังคม |
9. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. (พ.ศ. 2566 - 2569) ((ร่าง) แผนแม่บทฯ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) เสนอ
2. ให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําแผนแม่บทนี้ไปใช้เป็นกรอบทิศทางและแนวทางการดําเนินงาน รวมทั้งใช้เป็นกรอบแนวทางจัดทําและเสนอคําของบประมาณของหน่วยงานตามห้วงระยะเวลาการบังคับใช้ของแผน
3. ให้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสํานักงบประมาณ (สงป.) สนับสนุนโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้อง และสนับสนุนมิติ การบริหารงานและเป้าหมายของ (ร่าง) แผนแม่บทฯ และใช้เป็นแนวทางการจัดสรรงบประมาณ แก่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามห้วงระยะเวลาการบังคับใช้ของแผน
4. ให้สํานักงานกิจการยุติธรรม ยธ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพยช. (ร่าง) แผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติ และรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการประสาน สนับสนุน และติดตามประเมินผลการดําเนินงานตาม
สาระสำคัญ
1. (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 - 2569) ที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอมาในครั้งนี้ เป็นการดําเนินการต่อเนื่อง จากยุทธศาสตร์ที่ 5 การขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมด้วยดิจิทัล ของแผนแม่บทการบริหาร งานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2569) เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายทิศทางการดําเนินงาน และแนวทางประสานความร่วมมือในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้มีความต่อเนื่องเป็นระบบ เชื่อมโยง และเกิด การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า โดย (ร่าง) แผนแม่บทฯ ที่ ยธ. เสนอในครั้งนี้มุ่งเน้นการพลิกโฉมของระบบบริการด้านยุติธรรมสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการให้บริการประชาชน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 5 มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างหน่วยงาน ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สํานักงบประมาณ สํานักงาน ก.พ. สํานักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงาน ก.พ.ร. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สํานักงานศาลปกครอง สํานักงานศาลยุติธรรม สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ สํานักงานอัยการสูงสุด และสํานักงานพัฒนา รัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นชอบในหลักการ/ไม่ขัดข้อง
2. กพยช. [รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ซึ่งมีกรอบการดําเนินงานประกอบด้วย 3 เป้าหมายภาพรวม 3 ตัวชี้วัดภาพรวม และมีองค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 3 มิติ 7 เป้าหมาย7 ตัวชี้วัด สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
(ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2566 – 2569) |
|
วิสัยทัศน์ |
|
พันธกิจ |
(1) พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล |
เป้าหมาย ภาพรวม |
(1) สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม โดยการยกเลิก การใช้กระดาษ ลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนระยะเวลา เกิดความเข้าใจและสามารถเข้าถึงในระบบ กระบวนการยุติธรรม |
ตัวชี้วัดภาพรวม/ค่าเป้าหมาย |
(1) ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการในกระบวนการยุติธรรมมีความพึงพอใจในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และค่าใช้จ่ายลดลง |
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
มิติที่ 1 มุ่งให้ความสําคัญกับการให้บริกาชนที่มีประสิทธิภาพ (User Experience) |
|
เป้าหมายที่ 1 |
การประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรให้ประชาชนเข้าใจกระบวนการยุติธรรม |
แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น |
|
เป้าหมายที่ 2 |
การสร้างนวัตกรรมในกระบวนการยุติธรรม และมีช่องทางที่เข้าถึงสะดวก |
แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น |
|
มิติที่ 2 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมสู่ความเป็นเลิศ (Operation Excellence) |
|
เป้าหมายที่ 1 |
การบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงาน |
แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น |
|
เป้าหมายที่ 2 |
การสร้างนวัตกรรมในกระบวนการยุติธรรม และมีช่องทางที่เข้าถึงสะดวก |
แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น |
|
เป้าหมายที่ 3 |
การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสำหรับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม |
แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น |
|
มิติที่ 3 ระบบมีความมั่นคงปลอดภัยจากการถูกโจมตีหรือจากความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงาน (Cyber Security) |
|
เป้าหมายที่ 1 |
การสร้างธรรมาภิบาลภาครัฐ (Good Governance) |
แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น |
|
เป้าหมายที่ 2 |
การสร้างประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ |
แนวทางการดําเนินการ/โครงการที่สําคัญ เช่น |
|
|
|
|
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าวมี 13 หน่วยงาน ประกอบด้วย (1) หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม 7 หน่วยงาน เช่น ยธ. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานอัยการสูงสุด สํานักงานศาลยุติธรรม เป็นต้น และ (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วยงาน เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยเฉพาะการดําเนินการในมิติที่ 3 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
3. การขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล มีแนวทางการดําเนิน สรุปได้ ดังนี้
3.1 แนวทางการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ ขับเคลื่อน ผ่านกลไกคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม (เป็นคณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช.) ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้นําไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมาย เช่น สศช. [กํากับดูแลทิศทางการพัฒนาตามแนวทางในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องในการยุติธรรม] สงป. (สนับสนุนคําของบประมาณในลักษณะงบประมาณบูรณาการ) สํานักงาน ก.พ. และสํานักงาน ก.พ.ร.(ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร และสนับสนุนอัตรากําลัง) สพร. (ส่งเสริมและสนับสนุน Digital Government Transformation) กศ. (สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลต่อยอดการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล)
3.2 แนวทางการติดตามประเมินผล ดําเนินการผ่านกลไก คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการดําเนินงานตามแผนแม่บทฯ พร้อมจัดทํารายงานเสนอต่อ กพยช. ทราบเป็นประจําทุกปี โดยสํานักงานกิจการยุติธรรมทําหน้าที่กํากับติดตามตัวชี้วัดของแต่ละเป้าหมายและติดตามผลการดําเนินงานว่าตรงตามแผนหรือไม่ พร้อมปัญหาและอุปสรรคจากการนํา แผนแม่บทฯ ไปใช้
__________________________
1 การประเมินศักยภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกําหนดเป็นระดับขั้นของความสําเร็จ (Milestone) แบ่งเป็น 4 ระดับคะแนน ดังนี้
ระดับคะแนนที่ 1 หน่วยงานไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology: ICT)
ระดับคะแนนที่ 2 หน่วยงานมีความตระหนักด้าน ICT แต่ยังไม่มีแบบแผนการนําไปใช้ที่ดีและถูกต้อง
ระดับคะแนนที่ 3 มีการใช้ ICT ในหน่วยงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการการทํางานและมีแผนการทํางานด้าน ICT แต่อาจจะยังไม่เพียงพอ
ระดับคะแนนที่ 4 มีการใช้ ICT อย่างเต็มรูปแบบและมีวัฒนธรรมองค์กรในการใช้ ICT อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีแผนงาน ที่ชัดเจน
ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมินประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างระบบ 2) ด้านข้อมูล 3) ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และซอฟต์แวร์ 4) ด้านบุคลากร และ 5) ด้านธรรมาภิบาลข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
ต่างประเทศ |
10. เรื่อง ร่างคำมั่นของประเทศไทยสำหรับการประชุมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศครั้งที่ 34
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างคำมั่นของประเทศไทยสำหรับการประชุมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Conference of the Red Cross and Red Crescent: ICRCRC) ครั้งที่ 34 (การประชุม ICRCRC) ระหว่างวันที่ 28 – 31 ตุลาคม 2567 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส (สวิตเซอร์แลนด์) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ก่อนมีการประกาศคำมั่น ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง รวมทั้งให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ซึ่งเป็นผู้แทนจาก กต. ประกาศคำมั่นดังกล่าวของไทยในการประชุม ICRCRC ครั้งที่ 34 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1949 และได้ภาคยานุวัติอนุสัญญา 4 ฉบับ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยในสงคราม รวมถึงเชลยศึกและบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม ประกอบด้วย (1) อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น (2) อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเล ซึ่งบาดเจ็บ ป่วยไข้ และเรืออับปาง มีสภาวะดีขึ้น (3) อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก และ (4) อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม (มีพระราชบัญญัติบังคับการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก ลงวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. 2499 เป็นกฎหมายอนุวัติการ)
2. การประชุม ICRCRC มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนความเห็นและพัฒนาการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและร่วมยืนยันเจตนารมณ์ในการส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law: IHL) โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุก 4 ปี ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบด้วย (1) รัฐภาคีอนุสัญญาเจนีวา 196 ประเทศ รวมถึงไทย (2) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) (3) สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies: IFRC) และ (4) สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงของแต่ละประเทศ
3. การประชุม ICRCRC ครั้งที่ 34 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 31 ตุลาคม 2567 ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหัวข้อหลักคือ “Navigate Uncertainty – Strengthen Humanity” (การขับเคลื่อนไปข้างหน้าท่ามกลางความไม่แน่นอน - การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับมวลมนุษยชาติ) โดยมี 3 หัวข้อย่อย ดังนี้
หัวข้อย่อย |
คำแปล |
1. Building a Global Culture of Respect for |
การสร้างวัฒนธรรมในการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในระดับโลก |
2. Standing by our Fundamental Principles |
การยืนหยัดในหลักการพื้นฐานในการตอบสนองต่อความต้องการและความเสี่ยงทางมนุษยธรรม |
3. Enabling sustainable, locally-led action |
การส่งเสริมการดำเนินการที่นำโดยชุมชนท้องถิ่นที่ยั่งยืน |
3. การประชุม ICRCRC ครั้งนี้ เปิดให้ผู้เข้าร่วมประกาศคำมั่นเพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นหรือแผนปฏิบัติการของตนเองและไทยจะมีการประกาศคำมั่นฯ เพื่อแสดงจุดยืนและสะท้อนถึงการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยร่างประกาศคำมั่นฯ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ด้านที่ 2 สาธารณสุข ด้านที่ 3 การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และด้านที่ 4 อาสาสมัคร
11. เรื่อง การลงนามร่างหนังสือให้คำมั่น (Letter of Commitment) เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามกรอบการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลแบบอัตโนมัติ (Multilateral Competent Authority Agreement on Automatic Exchange of Information pursuant to the Crypto-Asset Reporting Framework: CARF MCAA)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบเพื่อให้คำมั่นและอนุมัติให้มีการลงนามร่างหนังสือให้คำมั่น (Letter of Commitment) เพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามกรอบการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลแบบอัตโนมัติ (Multilateral Competent Authority Agreement on Automatic Exchange of Information pursuant to the Crypto-Asset Reporting Framework: CARF MCAA) (ร่างหนังสือให้คำมั่น CARF MCAA) และจะดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามกรอบการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลแบบอัตโนมัติ (CARF) ภายในปี 2571 โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กค. โดยกรมสรรพากรดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างหนังสือให้คำมั่น CARF MCAA
สาระสำคัญของเรื่อง
1. หลักการของร่างหนังสือให้คำมั่น CARF MCAA จะเป็นการกำหนดให้ผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าและธุรกรรมที่เกิดขึ้น ต้องเก็บรวบรวม ตรวจสอบและรายงานข้อมูลดังกล่าวต่อ กค. (กรมสรรพากร) (รายละเอียดขอบเขตของผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลดังกล่าว ขอบเขตของข้อมูลสินทรัพย์ที่ต้องรายงาน วิธีการตรวจสอบและการรายงานข้อมูลปรากฏตามข้อ 4.) ซึ่งประเทศไทยจะดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลครั้งแรกแบบอัตโนมัติเป็นรายปีกับภาคีคู่สัญญาภายในปี 2571 เพื่อให้มีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการเตรียมการด้านกฎหมายและระบบงานภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การส่งหนังสือให้คำมั่นดังกล่าวภายใน 31 ตุลาคม 2567 ประเทศไทยจะไม่ถูกระบุชื่อว่าเป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือทางภาษีไปยังกลุ่มประเทศ G20 อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยกระดับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัลระหว่างประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลของประเทศไทย โดย กค. มีหนังสือสอบถามกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน กลต.) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวพิจารณาแล้วไม่มีขัดข้องตามที่ กค. เสนอ
2. ภายใต้กรอบความร่วมมือ Global Forum (ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 สิงหาคม 2559) ประเทศไทยต้องดำเนินการยกระดับการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสทางภาษีของประเทศไทย โดยต้องขยายเครือข่ายภาคีคู่สัญญาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติเป็นไปตามมาตรฐานที่ OECD และ Global Forum กำหนด ปัจจุบันประเทศไทยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบรายปีกับภาคีคู่สัญญาแบบส่งและรับข้อมูลแบบต่างตอบแทน (Reciprocal) ที่เรียกว่า Common Reporting Standard (CRS) โดยเริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2566
3. ในปี 2565 Global Forum ได้พัฒนากรอบการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัล (CARF) ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มประเทศ G20 ที่มุ่งเน้นการจัดการความเสี่ยงทางภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและยากต่อการควบคุมเนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถถือครองได้โดยไม่มีตัวกลางทำให้เสี่ยงต่อการถูกใช้หลบเลี่ยงภาษีและซ่อนทรัพย์สินในต่างประเทศ ดังนั้น กรอบการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัล (CARF) จึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสร้างมาตรฐานสากลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐบาล รวมถึงช่วยเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล
4. หลักการของกรอบการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัล (CARF) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่รายงานจะต้องเก็บรวบรวม ตรวจสอบ และรายงานข้อมูลบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าและธุรกรรมที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานภาษี (กรมสรรพากร) ตามที่กฎหมายภายในประเทศกำหนด ซึ่งจะดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติเป็นรายปี
กับภาคีคู่สัญญา โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
ขอบเขตผู้มีหน้าที่รายงาน |
ผู้มีหน้าที่รายงาน หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลใดที่เป็นผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล (Crypto-Asset Service Providers: CASPs) ให้บริการแลกเปลี่ยน โอน เก็บรักษา หรือซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น นายหน้า (Brokers) หรือผู้ให้บริการตู้เอทีเอ็มคริปโต (Crypto-Asset ATMs) รวมถึงผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลกับสกุลเงินในตลาดการเงิน เป็นต้น |
ขอบเขตของสินทรัพย์ |
สินทรัพย์ที่ต้องถูกรายงาน หมายถึง สินทรัพย์ดิจิทัลใด ๆ ที่มีการใช้เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของบัญชีโดยการเข้ารหัส สามารถถือครองและโอนได้ในลักษณะกระจายศูนย์ โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางทางการเงินแบบดั้งเดิม ประเภทธุรกรรมที่ต้องรายงาน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลกับสกุลเงินในตลาดการเงิน (Exchange between Crypto-Assets and Fiat Currencies) การแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange between Crypto-Assets) และการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Transfers of Crypto-Assets) |
วิธีการตรวจสอบและ การรายงานข้อมูล |
หลักเกณฑ์การตรวจสอบถิ่นที่อยู่ของบุคคลที่ต้องถูกรายงาน (Due Diligence) ให้ใช้กระบวนการตรวจสอบตามที่กรอบการรายงานข้อมูลสินทรัพย์ดิจิทัล (CARF) กำหนดสำหรับบัญชีที่มีอยู่และบัญชีใหม่ โดยใช้หลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการยืนยันตัวตนและถิ่นที่อยู่ของผู้ใช้บริการ |
12. เรื่อง การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 11 ณ เมืองมะละกา มาเลเซีย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ (Meeting of ASEAN Ministers Responsible for Culture and Arts: AMCA) ครั้งที่ 11 (ร่างถ้อยแถลงฯ) “เชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างสรรค์อนาคต: เอกภาพบนความหลากหลาย” (Joint Media Statement the 11th Meeting of the ASEAN Ministers Responsible for Culture and Arts “Bridging Cultures, Building Futures: Unity in Diversity”) ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของเอกสารข้างต้นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ก่อนจะมีการรับรองหรือเห็นชอบเอกสารดังกล่าวให้ วธ. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 ให้การรับรองร่างถ้อยแถลงฯ
สาระสำคัญ
1. กระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรม มาเลเซีย (Ministry of Tourism, Arts and Culture Malaysia : MOTAC) จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นในหัวข้อ “เชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างสรรค์อนาคต: เอกภาพบนความหลากหลาย” รวมทั้งการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ( Senior Officials Meeting on Culture and Arts: SOMCA) ครั้งที่ 20 และการประชุมเกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 21-26 ตุลาคม 2567 ณ เมืองมะละกา มาเลเซีย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรม มาเลเซีย เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นทุก 2 ปี หรืออาจจัดประชุมเป็นกรณีพิเศษหากมีเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณา (การประชุม AMCA ครั้งที่ 10 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล)
2. ในการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 จะมีการรับรองร่างถ้อยแถลงฯ ซึ่งเป็นการสะท้อนท่าทีร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียน รวมทั้งสนับสนุนบทบาทสำคัญของวัฒนธรรมและศิลปะในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ร่างถ้อยแถลงฯ มีการระบุประเด็นต่างๆ เช่น 1) เชื่องโยงวัฒนธรรม สร้างสรรค์อนาคต:เอกภาพบนความหลากหลาย 1) เมืองแห่งวัฒนธรรมอาเซียนเมืองมะละกา 3) ปฏิญญาวังเวียงว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจวัฒนธรรมขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยังยื่น 4) แผนยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียน พ.ศ. 2559 – 2568 และ (การพัฒนา) แผนปฏิบัติการฉบับใหม่ 5) ความร่วมมือร่วมกับประเทศคู่เจรจา 6) บัญชีรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน (ACHL) และ 6) การประชุมในครั้งต่อไป
ทั้งนี้ วธ.แจ้งว่า ร่างถ้อยแถลงฯ เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 ซึ่งไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดผลผูกพันภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
13. เรื่อง โครงการจัดทํารายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 และรายงานแห่งชาติ ฉบับที่ 5 รวมกับรายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1 [Thailand’s First Biennial Transparency Report (BTR1) and combined Fifth National Communication and Second Biennial Transparency Report (NC5/BTR2)]
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความตกลงระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และหน่วยดําเนินงาน (ร่างบันทึกความตกลงฯ) และร่างเอกสารโครงการภายใต้ โครงการจัดทํารายงานความโปร่งใสรายสองปี (Biennial Transparency Report : รายงาน BTR) ฉบับที่ 1 และรายงานแห่งชาติ (Nations Communication : รายงาน NC) ฉบับที่ 5 รวมกับรายงาน BTR ฉบับที่ 2 (ร่างเอกสารโครงการฯ) ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคําในร่างบันทึกความตกลงฯ ที่มิใช่สาระสําคัญ ให้ ทส. โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดําเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งเห็นชอบให้เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในบันทึกความตกลงร่วมกับผู้แทน UNDP ภายใต้โครงการจัดทํารายงาน BTR ฉบับที่ 1 และรายงาน NC ฉบับที่ 5 รวมกับรายงาน BTR ฉบับที่ 2 (โครงการจัดทํารายงาน BTR/NC) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กรอบอนุสัญญาฯ) ซึ่งกําหนดให้ประเทศภาคีต้องจัดทํารายงานแห่งชาติ (Nations Communication : รายงาน NC) ทุก ๆ 4 ปี และต่อมาในเดือนธันวาคม 2561 ที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ ได้กําหนดเพิ่มเติมให้รัฐภาคี ต้องส่งรายงานความโปร่งใสรายสองปี (Biennial Transparency Report : รายงาน BTR) ทุก ๆ 2 ปี ดังนั้น สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) จึงได้จัดทําร่างบันทึกความตกลง ระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และหน่วยดําเนินงาน (ร่างบันทึกความตกลงฯ) และร่างเอกสารโครงการภายใต้โครงการจัดทํารายงาน BTR ฉบับที่ 1 และรายงาน NC ฉบับที่ 5 รวมกับรายงาน BTR ฉบับที่ 2 (ร่างเอกสารโครงการฯ) ซึ่งได้กําหนดรายละเอียดการสนับสนุนของ UNDP ที่จะช่วยเหลือประเทศไทยในการจัดทํารายงาน BTR ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 และรายงาน NC ฉบับที่ 5 เช่น สรรหาบุคลากร/สินค้า/บริการเพื่อนํามาดําเนินโครงการรายงานความคืบหน้า เป็นต้น ซึ่งจะเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก จํานวน 1,233,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 44.56 ล้านบาท) โดยรายงาน BTR ฉบับที่ 1 จะต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปี 2567 ส่วนรายงาน NC ฉบับที่ 5 รวมกับรายงาน BTR ฉบับที่ 2 มีกําหนดส่งภายในปี 2569 ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างบันทึกความตกลงฯ และร่างเอกสารโครงการฯ แล้ว
2. ร่างบันทึกความตกลงฯ เป็นข้อตกลงที่จะขอรับการสนับสนุนจาก UNDP เพื่อให้อํานวยความสะดวกในการดําเนินโครงการจัดทํารายงาน BTR/NC โดย UNDP จะให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการฯ (เช่น สรรหาบุคลากรอํานวยความสะดวกในกิจกรรมการฝึกอบรมส่งรายงานความก้าวหน้าในการสนับสนุนการดําเนินโครงการ) ตามคําขอของประเทศไทย
3. ร่างเอกสารโครงการฯ โดยมีรายละเอียดที่สําคัญ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
วัตถุประสงค์ |
ให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในการจัดทําและส่งรายงาน BTR ฉบับที่ 1 และรวมรายงาน NC ฉบับที่ 5 และรายงาน BTR ฉบับที่ 2 เพื่อปฏิบัติตามพันธกรณี ภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส |
การดำเนินการ |
จัดทําข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการจัดทํารายงาน BTR ฉบับที่ 1 และรายงาน NC ฉบับที่ 5 รวมกับรายงาน BTR ฉบับที่ 2 เช่น |
ระยะเวลาดำเนินการ |
48 เดือน |
งบประมาณ |
1,233,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 44,563,086 บาท) ทั้งนี้ ร่างเอกสารโครงการฯ มิได้มีข้อผูกพันทางการเงิน (in cash) ที่หน่วยงานไทยต้องให้การสนับสนุน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายที่เกินจากงบประมาณ (over-expenditure) จะไม่สามารถเบิกจ่ายจากกองทุน GEF ได้ |
แหล่งที่มาของงบประมาณ |
กองทุน GEF |
14. เรื่อง การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนฝ่ายไทย สำหรับการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 รวมทั้งเห็นชอบร่างบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 และร่างคําแถลงข่าวร่วมการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 8 ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในร่างบันทึกการประชุมฯ และร่างคําแถลงข่าวร่วมการประชุมฯ ที่ไม่ใช่สาระสําคัญ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้กระทรวงมหาดไทยสามารถดําเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทนร่วมลงนามรับรองบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติองค์ประกอบคณะผู้แทนฝ่ายไทย สําหรับการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 4
2. ร่างบันทึกการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 และร่างคําแถลงข่าวร่วมการประชุมฯ ซึ่งได้ดําเนินการจัดทําร่วมกับฝ่ายกัมพูชาแล้ว มีสาระสําคัญโดยสรุป ดังนี้ 1) การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 8 กําหนดจัดระหว่างวันที่ 22 - 24 ตุลาคม 2567 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ โดยมีประธานร่วม ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และ ฯพณฯ อภิสันติบัณฑิต ซอร์ ซกคา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายกัมพูชา
2) ที่ประชุมจะมีการหารือร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่จะให้ผู้บริหารระดับสูงในพื้นที่ที่มีเขตแดนติดต่อกัน มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน สอดคล้องกับเจตนารมณ์และนโยบายของรัฐบาล และเป็นการสานต่อความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้ทําความตกลงกันไว้แล้ว รวมทั้งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศไทย และเป็นการยืนยันการดํารงความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นระหว่างไทย - กัมพูชา ที่มีอยู่อย่างแน่นแฟ้น ตลอดจนเป็นเวทีผลักดันความร่วมมือด้านต่าง ๆ ให้คืบหน้าเป็นรูปธรรม โดยไม่กล่าวถึงประเด็นอ่อนไหวที่มีผลต่อความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศมิได้เคยทําความตกลงกันไว้และไม่มีการจัดทําความตกลงใด ๆ ในการประชุมครั้งนี้ โดยมีประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ จํานวน 19 ประเด็น ได้แก่ (1) การดําเนินการเกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องการข้ามแดน (2) ความร่วมมือด้านการค้า และการลงทุนบริเวณชายแดน (3) การคมนาคมขนส่ง (4) ความร่วมมือด้านการเกษตรบริเวณชายแดน (5) ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (6) ความร่วมมือด้านแรงงาน (7) การบริหารจัดการจุดผ่านแดน (8) การสาธารณสุขและการพัฒนาชุมชน (9) การศึกษา (10) การจัดการภัยพิบัติ (11) การลักลอบตัดไม้ โดยผิดกฎหมาย (12) การดํารงรักษาสิ่งแวดล้อมชายแดน (13) การป้องกัน และการปราบปรามอาชญากรรม บริเวณชายแดน (14) ความร่วมมือในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด (15) ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (16) ความร่วมมือเมืองพี่เมืองน้อง/เมืองพี่เมืองน้องระดับจังหวัด (17) การขยายความร่วมมือระหว่างประชาชนกับประชาชน และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม (18) กลไกความร่วมมือระดับท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานซึ่งปฏิบัติงานชายแดน (19) เรื่องอื่น ๆ
15. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติสมัยที่ 57 (The fifty-seventh session of the Commission on Population and Development: CPD57) (การประชุม CPD57) และวีดิทัศน์ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ
พม. รายงานว่า
1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 เมษายน 2567) เห็นชอบร่างปฏิญญาคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติสมัยที่ 57 (ร่างปฏิญญาฯ) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม CPD57 ให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ ในช่วงการประชุมฯ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2567 ณ สํานักงานใหญ่ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการยืนยันความมุ่งมั่นในการดําเนินการตามแผนปฏิบัติการของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา (แผนปฏิบัติการฯ) ไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติต่อไป การดําเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของแผนปฏิบัติการฯ เช่น การลดความยากจน การลดการเสียชีวิต ของเด็กและมารดา การปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงการวางแผนครอบครัว และการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในลักษณะบูรณาการโดยตระหนักถึงความท้าทายที่สําคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากร ความยากจน และวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่โลกกําลังเผชิญ ซึ่งทําให้ความเปราะบางและความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ พม. ดําเนินการได้ โดยให้นําเสนอคณะรัฐมนตรี ทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม CPD57 ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2567 ณ สํานักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยผลการประชุม CPD57 มีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 ผลการประชุม CPD57 ภายใต้หัวข้อหลัก “การประเมิน สถานการณ์ดําเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ และผลการดําเนินงานที่นําไปสู่การติดตาม และทบทวนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ในช่วงทศวรรษแห่งการดําเนินการ และมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” สรุปได้ ดังนี้
(1) ประเทศต่าง ๆ ได้กล่าวถ้อยแถลงนําเสนอความคืบหน้า การดําเนินงาน โดยเฉพาะด้านความเท่าเทียมทางเพศ การเข้าถึงสิทธิและอนามัยเจริญพันธุ์ การลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารก การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และตระหนักถึงความสําคัญของการบูรณาการและเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญของโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การโยกย้ายถิ่นฐาน และการขยายตัวของเมือง นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านข้อมูลประชากรของประเทศ ขับเคลื่อนการดําเนินงานตามแนวทางการพัฒนาทุกช่วงวัย และเน้นย้ำบทบาทของครอบครัวที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการบูรณาการนโยบายที่มุ่งเน้นครอบครัวในแผนการพัฒนาประเทศ และระบบการคุ้มครองทางสังคม อย่างไรก็ดีประชาคมโลกควรเพิ่มความพยายามในการแก้ไข ข้อท้าทายที่สําคัญซึ่งยังคงไม่อยู่ในหลายพื้นที่ของโลก และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชากร เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ การขาดการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ สถานการณ์ความขัดแย้ง การเพิ่มจํานวนผู้ลี้ภัยจากความขัดแย้ง การโยกย้ายถิ่นฐานภายในประเทศและระหว่างประเทศ
(2) ประเทศไทยได้กล่าวถ้อยแถลงนําเสนอความสําเร็จในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสาธารณสุข พร้อมนําเสนอนโยบายสําคัญ ในการรับมือกับสถานการณ์ความท้าทายด้านประชากรของไทย และได้แสดงบทบาทสําคัญในการร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคู่ขนาน เช่น กิจกรรมคู่ขนาน Optimizing Southeast Asian Population Dynamics through South – South and Triangular Cooperation (SSTC)” ร่วมกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐมาเลเซีย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund: UNFPA) และสํานักงานสหประชาชาติเพื่อความร่วมมือใต้-ใต้ (United Nations Office for South-South Cooperation: UNOSSC) นอกจากนี้ ได้หารือทวิภาคี และแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสถานการณ์ความท้าทายของโลกในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและด้านประชากร รวมถึงแสวงหาแนวทางพัฒนาความร่วมมือในอนาคต กับผู้แทนระดับสูงจากสหราชอาณาจักร ผู้บริหารโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) และผู้แทน UNFPA 2.2 ที่ประชุมได้ร่วมกันรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม CPD57 โดยใช้ชื่อว่า ปฏิญญาเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการครบรอบ 30 ปี การประชุมระหว่างประเทศ ว่าด้วยประชากรและการพัฒนา” (Declaration on the occasion of the thirtieth anniversary of the International Conference on Population and Development) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 โดยฉันทามติและไม่มีการลงนาม ซึ่งปฏิญญาดังกล่าวมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการยืนยันความมุ่งมั่น ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ผ่านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และเสริมสร้างการบูรณาการความเชื่อมโยงระหว่างประชากรและการพัฒนาในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง โดยตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน สิทธิในการพัฒนา ความเท่าเทียมทางเพศ การเสริมพลังสตรี และเด็กผู้หญิงทุกคน ความหลากหลายและพลวัตของประชากร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุ ประชากร การขยายตัวของเมือง และการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการให้คํามั่นในการพัฒนาระบบการเข้าถึงข้อมูลประชากรที่มีคุณภาพ ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งต่อการติดตามการดําเนินการ ตามแผนปฏิบัติการฯ และการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ปฏิญญาที่ได้รับรองดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสําคัญของร่างปฏิญญาฯ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ กล่าวคือ การตัดถ้อยคําที่ซ้ำซ้อน รวมถึงถ้อยคําที่ระบุสถานการณ์อ่อนไหวที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ภาพรวมของทุกประเทศได้ เช่น การระบุถึงสังคมสูงวัย การเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การขจัดการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงต่อสตรี การลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กและมารดา การเข้าถึงสิทธิและบริการทางสุขภาพถ้วนหน้า
3. ประโยชน์การเข้าร่วมประชุม
3.1 การกล่าวถ้อยแถลงและการแสดงวิสัยทัศน์เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการบรรลุการพัฒนาสังคมที่ครอบคลุมและเท่าเทียม โดยตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน สิทธิในการพัฒนา ความเท่าเทียมทางเพศ การเสริมพลังสตรีและเด็กผู้หญิงทุกคน และยังเป็นโอกาสเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในมิติประชากรและการพัฒนา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนบนพื้นฐานของการรักษาสมดุลระหว่าง 3 เสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน (สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม)
3.2 ประเทศไทยได้ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการดําเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ อย่างเต็มที่และสมดุล เพื่อพัฒนาคนทุกช่วงวัย และเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โดยเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายระดับชาติ “5x5 ฝ่าวิกฤตประชากร” ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและครอบคลุมสิทธิของคนทุกกลุ่ม ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 รับทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อไป
16. เรื่อง สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 57 (การประชุมฯ) และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามผลการประชุมฯ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. กต. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมฯ เช่น การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา 11 ประเทศ/องค์กรการประชุมคณะกรรมาธิการสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนบวกสาม การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก รวม 17 รายการ วันที่ 24 - 27 กรกฎาคม 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
ภาพรวม |
1) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันผลักดันความร่วมมือในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทย ภายใต้หัวข้อหลักของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของ สปป.ลาว ในปี 2567 “อาเซียน: เพิ่มทวีความเชื่อมโยงและความเข้มแข็ง” เช่น การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนในทุกมิติ การส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นมากขึ้น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การธำรงรักษาสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมถึงการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดยได้มีการรับรองเอกสารผลลัพธ์รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ เช่น |
ประเด็นที่ไทยผลักดัน |
1) การส่งเสริมการหารือที่ครอบคลุมเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศต่าง ๆ |
สถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ |
1) สถานการณ์ในเมียนมา: ประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาเน้นย้ำความสำคัญของการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ* เพื่อนำไปสู่การเจรจาสันติภาพในเมียนมาต่อไป ในโอกาสนี้ ไทยได้ประกาศการมอบเงินอุดหนุน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ ศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการจัดการภัยพิบัติเพื่อต่อยอดข้อริเริ่มด้านมนุษยธรรมของไทย |
ในการนี้ กต. จึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องติดตามและดำเนินการตามผลการประชุมฯ ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (2) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการเร่งรัดการเจรจาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ประกอบร่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2045 ให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอให้ผู้นำรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 46
2. ประโยชน์ที่ไทยได้รับ: การประชุมฯ และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นโอกาสสำหรับไทยในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ทั้งกับประเทศสมาชิกอาเซียน คู่เจรจา และภาคีภายนอกของอาเซียน รวมทั้ง ยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในประเด็น ต่าง ๆ เช่น การเสริมสร้างความเชื่อมโยง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านสีเขียว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและยาเสพติด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมายเพิ่มเติมต่อประเทศไทยแต่อย่างใด
_______________________________
หมายเหตุ: *ฉันทามติ 5 ข้อ ได้แก่ 1) จะต้องยุติความรุนแรงในเมียนมาโดยทันที 2) การเจรจาที่สร้างสรรค์ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะเริ่มต้นขึ้น เพื่อหาทางออกอย่างสันติ 3) ทูตพิเศษของประธานอาเซียนจะอำนวยความสะดวกเป็นสื่อกลางของกระบวนการเจรจา 4) อาเซียนจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านทางศูนย์ประสานงานอาเซียน เพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรมด้านการจัดการภัยพิบัติ และ 5) ทูตและคณะผู้แทนพิเศษจะเดินทางไปเยือนเมียนมาเพื่อพบปะกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
แต่งตั้ง |
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นางสาวอัณณ์ณิชา โตกิจกล้าธวัฒน์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองมาตรฐานการวิจัยและสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านระบบวิจัย (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ (ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดี (โบราณคดี และพิพิธภัณฑ์) (นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นายชนะ สุ่มมาตย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการแนะแนว (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นางสาวลิลิน ทรงผาสุก นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2567
2. นายวิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2567
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการสูง) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายอุดม อัศวุตมางกุร ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2567
2. นางสาวอุไรวรรณ จำนรรจ์สิริ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอแต่งตั้ง นายภพหล้า ปิยะปานันท์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้และชนต่างวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เสนอแต่งตั้ง นางสาว
ศุธาศินี สมิตร ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้ง นางสาวนุชนาถ เกษมพิบูลย์ไชย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งให้รักษาการแทนในตำแหน่งดังกล่าว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ จำนวน 8 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอแต่งตั้งในครั้งนี้
1. ศาสตราจารย์พงษ์เทพ สันติกุล ด้านการจัดสวัสดิการสังคม
2. นายชินชัย ชี้เจริญ ด้านการจัดสวัสดิการสังคม
3. นางสาววิจิตา รชตะนันทิกุล ด้านการจัดสวัสดิการสังคม
4. นายสมชัย จิตสุชน ด้านการจัดสวัสดิการสังคม
5. นายถาวร สกุลพาณิชย์ ด้านสุขภาพอนามัย
6. ศาสตราจารย์สมพงษ์ จิตระดับ ด้านการศึกษา
7. นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ด้านการศึกษา
8. นายโยธิน มูลกำบิล ด้านกฎหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนรวม 13 คน ประกอบด้วยกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เนื่องจากกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ดังนี้
กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอแต่งตั้งในครั้งนี้
1) กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน
1. นางวันทรา ผ่านคำ (จังหวัดอุตรดิตถ์)
2. นายอิทธิ แจ่มแจ้ง (จังหวัดระยอง)
3. นางสาวพิชชาภา สุทัศน์ (จังหวัดพิจิตร)
4. นายกฤษฏิ์ พยัคกาฬ (จังหวัดเชียงใหม่)
5. นายธนากร จีนกลาง (จังหวัดบุรีรัมย์)
6. นางสารภี อิสโร (จังหวัดสงขลา)
7. ว่าที่ร้อยเอก จำรัส มีลิ (จังหวัดเพชรบุรี)
8. นางปนิดา มูลนานัด (จังหวัดเพชรบุรี)
9. นายวันชัย บุญสำราญ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
10. นายกิติศักดิ์ ขจรภัย (จังหวัดสระบุรี)
2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
1. นางสาวชญานุช มณีรินทร์ (ด้านการบริหารธุรกิจ)
2. นางสาวนภาพร เพ็ชร์จินดา (ด้านการเงิน)
3. นายจีรณัทย์ สุทธวารี (ด้านการค้าและอุตสาหกรรม)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
28. เรื่อง ขอถอนรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 2 คน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้ เป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยที่มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป ดังนี้
(1) นายมนตรี เดชาสกุลสม ประธานกรรมการ
(2) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(3) พลตำรวจเอก รอย อิงคไพโรจน์
(4) นายฆนัท ครุธกู กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(5) นายพิษณุ โหระกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
กระทรวงคมนาคมขอแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า พลตำรวจเอก รอย อิงคไพโรจน์ และนายฆนัท ครุธกูล แจ้งความประสงค์ ขอถอนตัวจากการสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เนื่องจากติดภารกิจ
2. คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 3 คน ดังนี้
(1) นายมนตรี เดชาสกุลสม ประธานกรรมการ
(2) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(3) นายพิษณุ โหระกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ สำหรับตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ว่างลงอีก 2 ตำแหน่ง กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการสรรหาเพิ่มเติมก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
ที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/89413