สาระน่ารู้


สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 24 กันยายน 2567


                   วันนี้ (24 กันยายน 2567)  เวลา 10.00 น.  นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1  ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญ   ดังนี้
 

เศรษฐกิจ-สังคม

1.       เรื่อง     แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
2.       เรื่อง     การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567
3.       เรื่อง     ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
4.       เรื่อง     ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นสำหรับการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยและความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 1 และเงินชดเชยความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 2 ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
5.       เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน  เฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
6.       เรื่อง     ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 799.90 ล้านบาทเพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ของกรมทางหลวง
7.       เรื่อง     ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนพฤษภาคม 2567   ถึงเดือนสิงหาคม 2567
8.       เรื่อง     ขอให้คณะรัฐมนตรีส่งรายชื่อผู้แทนคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา
9.       เรื่อง     มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ระยะที่ 2 และระยะที่ 3
10.      เรื่อง     ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
11.      เรื่อง     ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการ เงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นเงินอุดหนุนค่าจัดการเรียนการสอน
12.      เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการควบคุมดูแลผู้ต้องขัง
13.      เรื่อง     การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร
14.      เรื่อง     มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
15.      เรื่อง     มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
16.      เรื่อง     ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการ เงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นเงินอุดหนุนค่าจัดการเรียนการสอน
17.      เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
18.      เรื่อง     ขอขยายระยะเวลาการประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
19.      เรื่อง     หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
20.      เรื่อง     โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย การประปาส่วนภูมิภาคสาขาพังงา-ภูเก็ต
21.      เรื่อง     มาตรการช่วยเหลือด้านค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ที่หน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัย สำหรับค่าไฟฟ้า  ประจำเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม 2567
22.      เรื่อง     ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อใช้จ่ายสําหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ
23.      เรื่อง     ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง จังหวัดเพชรบูรณ์

 

ต่างประเทศ

24.      เรื่อง     คำมั่นของสมาชิกแนวร่วมในการรับมือกับภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ระดับโลก
25.    เรื่อง     ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 42 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
26.      เรื่อง     การบริจาคเงินเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย 14
27.   เรื่อง     ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูง เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพ

28.      เรื่อง     ร่างพิธีสารแก้ไขและขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (Protocol to Amend and Extend the ASEAN Memorandum of Understanding on the Trans - ASEAN Gas  Pipeline Project)
 

แต่งตั้ง

29.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)

30.      เรื่อง     ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)

31.  เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)
32.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง   (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
33.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง   (กระทรวงการคลัง)
34.      เรื่อง     ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  (ครั้งที่ 1)

 35.      เรื่อง     ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

36.      เรื่อง     การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (นักบริหารการทูตระดับสูง) (กระทรวงการต่างประเทศ)
37.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง   (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
38.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
39.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (กระทรวงพาณิชย์)
40.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
41.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
42.      เรื่อง     การให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Chief Executive Officer, CEO) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย

 
************

 
 

เศรษฐกิจ-สังคม

1. เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้ 
                   1. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระ

                   2. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป

                    สาระสำคัญของเรื่อง

                   สลค. เห็นว่า ที่ผ่านมามาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระ ประกอบด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เสนอมาตรการ ความเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากหน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องที่ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการต่อไปโดยเร็วหรือมีเงื่อนเวลากำกับตามกฎหมาย ส่วนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เป็นการดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น เพื่อเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระ และญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง  จึงได้เสนอแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการ ความเห็นและข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดังนี้

                   1. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการการดามมาตรการ ความเห็นและข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระ
                             1.1 เมื่อ สลค. ได้รับมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระ ให้ สลค. พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
                                      (1) ในกรณีที่มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะองค์กรอิสระเกี่ยวข้องกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐใด ให้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระ และมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาว่าสมควรจะดำเนินการตามมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระในเรื่องใดได้หรือไม่ประการใดก่อน

                                      (2) ในกรณีที่มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระมีส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวข้องหลายแห่ง ให้พิจารณาว่าส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐใดสมควรเป็นหน่วยงานหลัก แล้วให้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะขององค์กรอิสระ  และมอบหมายให้มีหน่วยงานหลักในการรวบรวมผลการดำเนินการดังกล่าวของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาสรุปเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้  โดยให้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ
                             1.2 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐแจ้งผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการตามข้อ 1.1 (1) หรือข้อ 1.1 (2) ให้ สลค. ทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

                            1.3 เมื่อ สลค. ได้รับผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการตามข้อ 1.2 แล้ว ให้ สลค. นำผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ

ทั้งนี้ กรณีเป็นมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องดำเนินการก่อนครบ 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

                   2. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
                             2.1 เมื่อ สลค. ได้รับญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ให้ สลค. พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
                                      (1) ในกรณีที่ญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเกี่ยวข้องกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐใด ให้รายงานนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเพื่อพิจารณาสั่งการให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาว่าสมควรจะดำเนินการตามญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในเรื่องใดได้หรือไม่ประการใดก่อน
                                      (2) ในกรณีที่ญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวข้องหลายแห่งให้พิจารณาว่าส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐใดสมควรเป็นหน่วยงานหลัก แล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการหน่วยงานหลักนั้น เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหน่วยงานหลักในการรวบรวมผลการดำเนินการดังกล่าวของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาสรุปเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                             2.2 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐแจ้งผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการตามข้อ 2.1 (1) หรือข้อ 2.1 (2) ให้ สลค. ทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
                             2.3 เมื่อ สลค. ได้รับผลการพิจารมาผลการดำเนินการตามข้อ 2.2 แล้ว ให้ สลค. นำญัตติ รายงาน และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพร้อมผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ
 
2. เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
                   1. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง รวม 2 ฉบับ ได้แก่

                            1.1 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...

                             1.2 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...
                   2. การต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ในลักษณะ MOU และร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง รวม 2 ฉบับ ได้แก่
                             2.1 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...
                             2.2 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...
                   3. การปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MOU) ตามร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องการขยายระยะเวลาการเปลี่ยนนายจ้างและระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำหรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ
                   4. การยกเว้นหน้าที่การแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การยกเว้นการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2

                5. ให้ รง. โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการ แรงงานต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบข้อมูลการดำเนินการดังกล่าวอย่างทั่วถึง

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   1. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอเป็นการกำหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้เพียงพอต่อความต้องการจ้างแรงงานของภาคธุรกิจ ซึ่งมาตรการดังกล่าวประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่

                             1.1 การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  ซึ่งเป็นมาตรการกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งกลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย กลุ่มคนต่างด้าวที่การอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง และกลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยถูกกฎหมายแต่ทำงานกับนายจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต สามารถดำเนินการขออนุญาตเพื่อให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจะสามารถอยู่และทำงานในราชอาณาจักรได้เป็นระยะเวลา 1 ปี และ
                             1.2 การต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ในลักษณะ MOU ซึ่งเป็นมาตรการกำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาสามารถดำเนินการขออนุญาตเพื่อให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรได้ต่อไปเป็นระยะเวลา 2 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ปี รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 4 ปี  รวมทั้งได้กำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่คนต่างด้าว ได้แก่ การกำหนดให้ขยายระยะเวลาที่คนต่างด้าวต้องหานายจ้างรายใหม่ภายหลังออกจากงาน จากเดิม 30 วัน เป็น 60 วัน และกำหนดยกเว้นให้คนต่างด้าวไม่ต้องแจ้งข้อมูลแก่นายทะเบียนเกี่ยวกับการจ้างงาน เว้นแต่มีการเพิ่มหรือเปลี่ยนนายจ้าง  ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้เห็นชอบกับมาตรการดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการเปิดรับแรงงานต่างด้าวเพื่อตอบสนองความต้องการทรัพยากรบุคคลและแรงงานทั้งภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการพัฒนาเทคโนโลยี ที่แรงงานกลุ่มดังกล่าวยังมีความจำเป็นในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                   2. รง. ได้เสนอเรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 โดยประกอบด้วยมาตรการในการบริหารจัดการคนต่างด้าวในด้านต่าง ๆ รวมทั้งได้ยกร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่าง ๆ ด้วย ดังนี้
 

 

(1) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

กลุ่มคนต่างด้าวตามแนวทาง

· คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่การอนุญาตให้อยู่หรือทำงานอยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต และทำงานกับนายจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
· คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

ขั้นตอน
การดำเนินการ

· ผ่อนผันให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้เป็นการชั่วคราว (ยังไม่มี การกำหนดว่าจะให้อยู่เป็นการชั่วคราวถึงวันใด) เพื่อดำเนินการขออนุญาตอยู่และทำงานในราชอาณาจักร ดังนี้

          1. ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานคนต่างด้าวต่อกรมการจัดหางานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนด

          2.  ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมเอกสารหลักฐาน เช่น ใบรับรองแพทย์ เอกสารการประกันสุขภาพ/การประกันสังคม เอกสารนายจ้าง และชำระค่าธรรมเนียม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนด โดยเมื่อคำขอได้รับการอนุมัติ คนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตทำงาน 1 ปีนับจากวันแรกที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคำขออนุญาตทำงาน

          3. ให้คนต่างด้าวไปดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหรือสถานที่ที่ สตม. กำหนด รวมทั้งดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด หรือสถานที่อื่นที่กรมการปกครองกำหนด

ผู้ติดตาม (บุตร)
ของคนต่างด้าว

· บุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งได้แจ้งรายชื่อไว้แล้ว มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดา

· หากต่อมาบุตรมีอายุครบ 18 ปี และประสงค์จะทำงานในราชอาณาจักรให้บุตรสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้อีก 60 วันนับแต่มีอายุครบ 18 ปีเพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงานในราชอาณาจักรต่อไป

การดำเนินการ
ของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง

· รง. ได้เสนอร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามมาตรการในข้อนี้มาด้วยแล้ว ได้แก่

          1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... และ

           2. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...

· กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพให้แก่คนต่างด้าวที่นายจ้างเลือกใช้บริการ
· สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) โดย สตม. จัดเก็บอัตลักษณ์บุคคลให้แก่คนต่างด้าว
· กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร จัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยให้แก่คนต่างด้าว

(2) การต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ในลักษณะ MOU

กลุ่มคนต่างด้าว
ตามแนวทาง

· คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ตามมติคณะรัฐมนตรี   5 ก.ค. 66 8 ส.ค. 66 3 ต.ค. 66 และมติคณะรัฐมนตรี 5 ก.ค. 65 7 ก.พ. 66 30 พ.ค. 66 ที่ ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568

ขั้นตอน
การดำเนินการ

· กำหนดให้คนต่างด้าวดังกล่าวสามารถขออนุญาตทำงานเป็นระยะเวลา 2 ปีและต่ออายุได้ครั้งเดียวเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
          1. ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานคนต่างด้าวต่อกรมการจัดหางาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนดภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
          2. ให้คนต่างด้าวเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรหรือไปยังสถานที่อื่นที่กรมการจัดหางานกำหนด เพื่อดำเนินการตามแนวทางการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานตาม MOU
          3. เมื่อประเทศต้นทางตรวจสอบบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว จัดเก็บข้อมูลและดำเนินการตามแนวทางของตนแล้ว ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และชำระค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยเมื่อคำขอได้รับการอนุมัติ คนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตทำงาน 2 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ปี

การดำเนินการ
ของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง

· รง. ได้เสนอร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามมาตรการในข้อนี้มาด้วยแล้ว ได้แก่
          1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...

          2. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...

· รง. โดยกรมการจัดหางาน ประสานงานกับประเทศต้นทางให้รับทราบแนวทางการดำเนินการ และพิจารณาออกหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางให้กับแรงงานโดยเร่งด่วน

· กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณามอบอำนาจในการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non - Immigration - LA) และตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ให้กับ สตม.

· สตม. ดำเนินการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร รวมทั้งยกเว้นการเปรียบเทียบปรับกรณีอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาที่กำหนด

(3) การปรับปรุงแก้ไขการกำหนัดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้ MOU

· กำหนดให้กรณีที่คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตาม MOU ออกจากงาน ก่อนครบกำหนดตามสัญญา หรือได้ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาแล้ว และมีความประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายใหม่ คนต่างด้าวดังกล่าวต้องเข้าทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม (เดิมกำหนดให้ต้องทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายใน 30 วัน) โดยให้มีผลถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2572 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่คนต่างด้าวในการหานายจ้างใหม่อันจะส่งผลให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในระบบการจ้างแรงงานที่ถูกกฎหมายได้ต่อไป

· รง. ได้เสนอร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การขยายระยะเวลาการเปลี่ยนนายจ้างและระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำหรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรการในข้อนี้มาด้วยแล้ว

(4) การยกเว้นหน้าที่การแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2

· กำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งข้อมูลให้นายทะเบียนทราบเกี่ยวกับผู้เป็นนายจ้าง สถานที่ทำงานของนายจ้าง และลักษณะงานที่ทำ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแจ้งข้อมูลที่เป็นการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง โดยให้มีผลถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2572 ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นายจ้างที่จะได้ไม่ต้องแจ้งสถานที่ทำงานของคนต่างด้าวซ้ำอีก เนื่องจากได้มีการแจ้งในขณะยื่นคำขออนุญาตทำงานแล้ว
· รง. ได้เสนอร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การยกเว้นการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรการในข้อนี้มาด้วยแล้ว

                   5. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่2/2567 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวแล้ว
 
3. เรื่อง ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่าย  เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 7,125.63 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (มาตรการ EV3) ต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ 

                    สาระสำคัญของเรื่อง

  1. มาตรการ EV3 เป็นมาตรการที่กำหนดอยู่ในประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (ประกาศกรมสรรพสามิตฯ) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เงินอุดหนุนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท

(1) กรณีรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท Battery Electric Vehicle
(BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท จะได้รับ
          - เงินอุดหนุน 70,000 บาท สำหรับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่น้อยกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง
          - เงินอุดหนุน 150,000 บาท สำหรับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป
(2) กรณีรถยนต์กระบะ ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท จะได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท/คัน เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศและมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป (เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศเท่านั้น)
(3) กรณีรถจักรยานยนต์ ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับเงินอุดหนุน  18,000 บาท/คัน สำหรับรถจักรยานยนต์ประเภท BEV

   ขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ที่ผู้ขอเข้าร่วมมาตรการจะต้องดำเนินการเพื่อขอรับเงินอุดหนุน

(1) ผู้ขอเข้าร่วมมาตรการต้องเป็นบุคคลตามประกาศกรมสรรพสามิตฯ กำหนด และต้องเข้ามาทำข้อตกลงร่วมกับกรมสรรพสามิต เพื่อรับทราบและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตกำหนดและยอมรับบทลงโทษหากไม่สามารถดำเนินการได้
(2) ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องยื่นขอรับสิทธิตามมาตรการ EV3 สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของตนเองเป็นรายรุ่น เพื่อให้กรมสรรพสามิตพิจารณาโครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำก่อนและหลังรับสิทธิตามมาตรการ EV เพื่อให้ราคาขายปลีกแนะนำสำหรับยานยนต์รุ่นดังกล่าวสะท้อนถึงส่วนลดต่าง ๆ ที่ภาครัฐมอบให้ตามมาตรการดังกล่าว
(3) เมื่อผู้เข้าร่วมมาตรการ EV3 จำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ได้รับสิทธิให้แก่ผู้บริโภคเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานการจำหน่ายและการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าคันดังกล่าว เพื่อส่งให้กรมสรรพสามิตเป็นรายไตรมาส เพื่อให้กรมสรรพสามิตดำเนินการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนต่อไป
(4) กรมสรรพสามิตดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานพร้อมประเมินเงินอุดหนุนทั้งหมดในไตรมาสนั้น ๆ เพื่อดำเนินการอนุมัติเบิกจ่ายเงินงบประมาณ หากได้รับการอนุมัติก็จะดำเนินการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้รับสิทธิต่อไป

                   2. รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่มีการจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 ซึ่งได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 จำนวน 90,380 คัน คิดเป็นเงินอุดหนุนทั้งสิ้น 11,917.34 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้
 

ประเภท

ช่วงระหว่างปี 2565 ถึงมกราคม 2567

จำนวน (คัน)

เงินอุดหนุน (ล้านบาท)

รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 70,000 บาท

1,166

81.62

รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท

77,499

11,624.85

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 18,000 บาท

11,715

210.87

รวม

90,380

11,917.34

                   3. กค. (กรมสรรพสามิต) ได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับมาตรการ EV3  รวมทั้งสิ้น 6,947.78 ล้านบาท ดังนี้

แหล่งงบ

จำนวนเงิน (ล้านบาท)

(1) งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (ตามข้อ 2)
          - ปี 2565
          - ปี 2566

3,947.79
2,923.39
1,024.40

(2) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (ตามข้อ 2.3)

3,000.00

รวม

6,947.78

 เบิกจ่ายไปแล้ว แบ่งเป็น
(1) ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามมาตรการ EV3
(2) ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3

5,951.16
49.97
5,901.19

คงเหลือยังไม่ได้เบิกจ่าย

996.62

*กค. (กรมสรรพสามิต) แจ้งว่า ปัจจุบันเบิกจ่ายครบถ้วนแล้ว

 

                   4. กค. แจ้งว่า ในการดำเนินการตามมาตรการ EV3 จะต้องใช้เงินอุดหนุน รวมทั้งสิ้น 11,917.34 ล้านบาท ซึ่ง กค. ได้รับงบประมาณไปแล้ว 6,947.78 ล้านบาท  โดยได้เบิกจ่ายไปแล้ว 5,901.19 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามมาตรการ EV3) และต่อมาได้เบิกจ่ายเพิ่มเติมอีก จำนวน 996.62 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันยังคงเหลือที่ได้ไม่รับการจัดสรรรงบประมาณอีก จำนวน 5,019.53 ล้านบาท (11,917.34 – 6,897.81) ประกอบกับ กค. คาดว่าจะสามารถจำหน่ายและจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งผู้เข้าร่วมมาตรการ EV3 แจ้งข้อมูลต่อกรมสรรพสามิตว่ามีความพร้อมสำหรับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นไป และหากสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศได้แล้วก็จะขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์อีกจำนวน 16,500 คัน วงเงิน 2,475 ล้านบาท จึงทำให้ กค. ต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินมาตรการ EV3 รวมทั้งสิ้น 7,494.53 ล้านบาท ซึ่ง สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 7,125.63 ล้านบาทแล้ว
                   5. มาตรการ EV3 จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความต้องการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยการสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามีราคาลดลงใกล้เคียงกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายในและช่วยสร้างแรงจูงใจให้มีการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และช่วยลดให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้วยการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลภาวะ
 
4. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นสำหรับการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยและความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 1 และเงินชดเชยความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 2 ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,453.11 ล้านบาท สำหรับการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยตามมาตรา 9 และเงินชดเชยความเสียหายตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนด Soft Loan) รอบแรก ครั้งที่ 1 และรอบแรก ครั้งที่ 2  ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567) เห็นชอบกรอบวงเงินการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. ในปี 2563 กค. ได้ออกพระราชกำหนด Soft Loan เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ รวมถึงมีมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อเพิ่มเติมภายใต้พระราชกำหนดดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจและป้องกันไม่ให้ภาคธุรกิจเกิดสภาวะการขาดสภาพคล่องหรือผิดนัดชำระหนี้จากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด 19 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน วงเงิน 500,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี เพื่อให้สถาบันการเงินนำสินเชื่อดังกล่าวให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกู้ยืมต่อ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ (1) วงเงินที่ให้ยืมต้องเป็นการให้สินเชื่อเพิ่มเติมจากยอดหนี้เดิมไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้าง และ (2) อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี สำหรับ 2 ปีแรก (ไม่เรียกเก็บดอกเบี้ย 6 เดือนแรก) ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินได้รับเงินชดเชยดอกเบี้ยและความเสียหายตามพระราชกำหนด Soft Loan
                   2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 กุมภาพันธ์ 2567) เห็นชอบกรอบวงเงินการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยและเงินชดเชยความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ตามมาตรา 9 และมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนด Soft Loan คิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 1,453.11 ล้านบาท ตามที่ กค. เสนอ สรุปได้ ดังนี้

การจ่ายเงินชดเชยตามพระราชกำหนด Soft Loan

จำนวน (ล้านบาท)

1) เงินชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันการเงิน (จำนวน 24 แห่ง)

1,312.11

2) เงินชดเชยความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 1 (จำนวน 12 แห่ง)

60.63

3) เงินชดเชยความเสียหายรอบแรก ครั้งที่ 2 (จำนวน 12 แห่ง)

80.37

รวมทั้งสิ้น

1.453.11

และให้ กค. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดำเนินการยื่นขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อสำนักงบประมาณ (สงป.) ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ตามขั้นตอนและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป
                   3. ในครั้งนี้ กค. จึงได้ขอรับการจัดสรรรประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นสำหรับการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยตามมาตรา 9 และเงินชดเชยความเสียหายตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนด Soft Loan รอบแรก ครั้งที่ 1 และรอบแรก ครั้งที่ 2  เพื่อดำเนินการจ่ายให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อมิให้เป็นภาระแก่สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเกินสมควร เป็นจำนวนเงิน รวมทั้งสิ้น 1,453.11 ล้านบาท ซึ่ง สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ กค. โดย สศค. ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นวงเงิน 1,453.11 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยและความเสียหายดังกล่าวตามพระราชกำหนด Soft Loan โดยเบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่นและขอให้ สศค. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป
 
5. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,849.30 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID - 19) ค้างจ่าย ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนอกสังกัด สธ. ที่ปฏิบัติงานระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - เดือนกันยายน 2565 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                   สำนักงบประมาณ (สงป.) ได้นำเรื่องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ สธ. และหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,849.30 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วย COVID – 19 ค้างจ่ายของหน่วยงานในและนอกสังกัด สธ. ที่ปฏิบัติงานระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - เดือนกันยายน 2565
                   โดยก่อนที่จะเบิกจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว ขอให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ คุ้มค่า โดยคำนึงขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ ตลอดจนสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และขอให้หน่วยงานในสังกัด สธ. และหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องจัดทำการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงประมาณ เพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป

 

6. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 799.90 ล้านบาทเพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ของกรมทางหลวง
                   คณะรัฐมนตรีอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 799.90 ล้านบาทเพื่อจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ของกรมทางหลวงตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กรมทางหลวงได้ขออุทธรณ์การขอรับเงินจัดสรรงบประมาณจำนวน 779.90 ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นเงินค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) และเพื่อเป็นการเร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างโครงการก่อสร้างบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งสำนักงบประมาณได้นำเรื่องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว และนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมทางหลวงเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 799.90 ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ที่ค้างชำระของกรมทางหลวง จำนวน 37 รายการ โดยเบิกจ่ายในงบลงทุน ลักษณะค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ตามที่กรมทางหลวงอุทธรณ์
                    การชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) ที่ค้างชำระของกรมทางหลวง จำนวน 37 รายการ วงเงิน 7999.90 ล้านบาท ตามที่ คค. เสนอประกอบด้วย

รายการ

จำนวน
(รายการ)

วงเงิน
(ล้านบาท)

(1) สัญญาที่มีวงเงินเกิน 50 ล้านบาท เช่น โครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ (ถนนพระราม 2) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ)

36

799.62

(2) สัญญาที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้แก่ รายการจ้างเหมา กิจกรรมก่อสร้างทางหลวงพัฒนาพื้นที่ระดับภาค ทางหลวงหมายเลข 4197 ตอน เขาต่อ - ปลายพระยา

1

0.28

รวม

37

799.90

 

7. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนพฤษภาคม 2567 ถึงเดือนสิงหาคม 2567
                   คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ใช้จ่ายงบประมาณในวงเงิน 1,790.70 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนพฤษภาคม 2567 ถึงเดือนสิงหาคม 2567 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยให้ กฟน. และ กฟภ. เบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

ส่วนลดค่าไฟฟ้าสำหรับกลุ่มเปราะบาง (19.05 สตางค์ต่อหน่วย)
ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 ถึงเดือนสิงหาคม 2567

กฟน. 2567 ถึงเดือนสิงหาคม 2567บาง

กฟภ.

รวม

ล้านราย

ล้านบาท

ล้านราย

ล้านบาท

ล้านราย

ล้านบาท

2.30

302.49

15.10

1,488.21

17.40

1,790.70

 

                   สาระสำคัญ
                   1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (7 พฤษภาคม 2567) เห็นชอบในหลักการมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน รวมถึงการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า บ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าเป็นเวลา 4 เดือน (พฤษภาคม - สิงหาคม 2567) จำนวน 19.05 สตางค์ต่อหน่วย ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้งนี้ ให้ มท. เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชดเชย ค่าใช้จ่ายให้ กฟน. และ กฟภ. ตามขั้นตอนต่อไป
                   2. สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว โดยนายกรัฐมนตรี [รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น] ได้ให้ความเห็นชอบให้ มท. โดย กฟน. และ กฟภ. ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในกรอบวงเงินรวม 1,790.70 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน โดยขอให้ กฟน. และ กฟภ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป
 
8. เรื่อง ขอให้คณะรัฐมนตรีส่งรายชื่อผู้แทนคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา
                   คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็น ผู้แทนคณะรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา
                   ทั้งนี้ การมอบหมายรัฐมนตรีเป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาเป็นการดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้มีผู้แทนคณะรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งคนเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา เพื่อทำหน้าที่ในเรื่องเกี่ยวกับกิจการของวุฒิสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและประสานงานระหว่างวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกิจการของวุฒิสภา จึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมอบหมายรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งคนเป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาและให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งรายชื่อดังกล่าวให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
 
9. เรื่อง มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ระยะที่ 2 และระยะที่ 3
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล (มาตรการพักชำระหนี้ฯ) ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 และการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (การพัฒนาศักยภาพลูกหนี้ฯ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 22,972 ล้านบาท  แบ่งเป็น รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกรลูกหนี้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 4.50 ต่อปี จำนวน 21,172 ล้านบาท และสนับสนุนค่าใช้จ่ายการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. จำนวน 1,800 ล้านบาท  โดยให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   เนื่องจากมาตรการพักชำระหนี้ฯ ระยะที่ 1 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2567 ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง กค. จึงเสนอมาตรการพักชำระหนี้ฯ ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 รวมถึงการพัฒนาศักยภาพลูกหนี้ฯ ดังกล่าว โดยมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ระยะที่ 2 และระยะยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ธ.ก.ส. ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งยังไม่ฟื้นตัว และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนภาระดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ธนาคาร โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกหนี้ ธ.ก.ส. ที่เข้าร่วมมาตรการพักหนี้ ระยะที่ 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567 จำนวน 1,855,433 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้รวม จำนวน 240,836 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกรลูกหนี้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 4.50 ต่อปี ในระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่  1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568  กรอบวงเงินชดเชย 10,550 ล้านบาท และระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2569 กรอบวงเงินชดเชย จำนวน 10,622 ล้านบาท รวมกรอบวงเงินชดเชย จำนวน 21,172 ล้านบาท รวมทั้งรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. สำหรับเกษตรกร ปีละประมาณ 300,000 ราย (รายละ 3,000 บาท) ระยะเวลา 2 ปี
 
 
10. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี จำนวน 138,832 ราย เป็นเงิน 416.496 ล้านบาท สำหรับจ่ายให้กับผู้ที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุนตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมกิจการผู้สูงอายุใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   พม. รายงานว่า
                   1. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11 (12) บัญญัติให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี และประกาศ พม. เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี กำหนดให้การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีหมายถึง การช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีรายละ 3,000 บาท
                   2. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานครได้สำรวจข้อมูลพบว่า ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีค้างจ่าย จำนวน 115,281 ราย เป็นเงิน 345.843 ล้านบาท และมีผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 จำนวน 138,832 ราย เป็นเงิน 416.496 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 254,113 ราย เป็นเงิน 762.339 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พม. ได้รับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี จำนวน 115,281 ราย เป็นเงิน 345.843 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้ ดังนั้น พม. (กรมกิจการผู้สูงอายุ) จึงเสนอเรื่องต่อสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
 
11. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการ เงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นเงินอุดหนุนค่าจัดการเรียนการสอน
                   คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 738.45 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าจัดการเรียนการสอน โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โครงการฯ) โดยให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
สาระสําคัญของเรื่อง
ศธ. รายงานว่า
1. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ได้รับจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานยุทธศาสตร์สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โครงการฯ งบเงินอุดหนุน รายการค่าจัดการเรียนการสอน จํานวน 22,196.54 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนให้กับนักเรียน จํานวน 1,806,494 คน แต่เนื่องจากนักเรียนในภาคเรียนที่ 1/2567 มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 1,840,970 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567) ซึ่งมีจํานวนมากกว่า ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้ 34,476 คน ส่งผลให้มีงบประมาณไม่เพียงพอสําหรับจัดสรรให้กับ โรงเรียนเอกชนในภาคเรียนที่ 1/2567 จํานวน 166.59 ล้านบาท (เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567)
2. เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติ (9 กรกฎาคม 2567) ให้ ศธ. พิจารณา ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรรงบประมาณ หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสําหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัด สช. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในโอกาสแรกก่อน (ตามข้อ 2) ศธ. โดย สช. ได้คํานวณงบประมาณดังกล่าวในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูโดยใช้จํานวนนักเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567) ที่ได้รับค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนรายการค่าจัดการเรียนการสอนระหว่าง เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567 (ระยะเวลา 5 เดือน) ซึ่งพบว่า จะต้องใช้งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 572.36 ล้านบาท
3. ศธ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจาก ศธ. มีงบประมาณไม่เพียงพอสําหรับอุดหนุนให้กับนักเรียนในภาคเรียนที่ 1/2567 จํานวน 166.59 ล้านบาท (ตามข้อ 1) และสําหรับอุดหนุนรายการค่าจัดการเรียนการสอนในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู จํานวน 572.36 ล้านบาท
 
12. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการควบคุมดูแลผู้ต้องขัง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการควบคุมดูแลผู้ต้องขังจำนวน 999,503,900 บาท ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
สาระสำคัญ
โดยนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ ยธ. โดยกรมราชทัณฑ์ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 999,503,900 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการควบคุม ดูแลผู้ต้องขัง ประจําปี พ.ศ. 2567 โดยเบิกจ่ายในงบดําเนินงาน และขอให้กรมราชทัณฑ์จัดทําแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอทําความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป

 
13. เรื่อง การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร

                   คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ โดยมอบหมายสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติสรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) นำข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรเสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการ เช่น ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เร่งจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาการดำเนินการฐานข้อมูลประวัติอาชญากรรมในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรมีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจเสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีได้รับแจ้งมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว หากเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ ให้แจ้งปัญหาและอุปสรรคต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป ทั้งนี้ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ครบกำหนดวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567)
                   คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานจำเป็นต้องอาศัยบูรณาการการทำงานร่วมกันและอาจมีความจำเป็นต้องขอแก้ไขข้อติดขัดด้วยการมีกฎหมายกำหนดแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว จึงมีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากร ดังนี้
                   1. การแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ให้ ตช. เร่งจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับกรอบระยะเวลาการดำเนินการที่ชัดเจนว่า ในแต่ละขั้นตอนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดกรอบเวลาใด ตั้งแต่ขั้นตอนพนักงานสอบสวนรายงานผลคดีไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร ขั้นตอนกองทะเบียนประวัติอาชญากรเสนอเรื่องให้มีการคัดแยกทะเบียนประวัติ ขั้นตอนคณะกรรมการพิจารณาคัดแยกทะเบียนประวัติอาชญากร ซึ่งการกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินการที่ชัดเจนแน่นอนจะป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตมิให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจเรียกรับ หรือประวิงเวลา เพื่อนำชื่อออกจากทะเบียนประวัติอาชญากร รวมถึงป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการถอนประวัติจากทะเบียนประวัติผู้ต้องหามาบันทึกลงในทะเบียนประวัติอาชญากร
                   2. การแก้ไขปัญหาในระยะกลาง เห็นควรผลักดันนโยบาย/แผนการดำเนินงานในการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรแบบบูรณาการ โดยให้ ตช. หารือแนวทางการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยอาจจัดตั้งคณะทำงานร่วม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อร่วมหาแนวทางบูรณาการฐานข้อมูล หรือการ Clearing House ที่จะแก้ไขปัญหาข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรไม่เป็นปัจจุบัน ปัญหาข้อมูลผลคดีล่าช้า ลดขั้นตอนการคัดแยกทะเบียนประวัติ ลดปริมาณงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงทำให้ได้ฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการยุติธรรมร่วมกัน โดยคำนึงถึง “ธรรมาภิบาลข้อมูล” ควบคู่กับแนวคิด  “ความปลอดภัยทางไซเบอร์”
                   3. การแก้ไขปัญหาในระยะยาว เห็นควรให้ ตช.และกระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการทบทวนปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากรแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบและเกิดการคุ้มครองสิทธิของประชาชน
                   ทั้งนี้ มอบหมายให้ ตช. หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจัดทำแนวทางการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรม และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาและมีมติมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปปฏิบัติต่อไปและให้รายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการเสนอต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นประจำทุกปี
 
14. เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ โดยให้กระทรวงมหาดไทยสรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) นำมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายเสนอคณะรัฐมนตรี เช่น การแก้ไขประเด็นปัญหาด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน (เช่น ปรับปรุงกฎหมาย หรือกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขุดดินและถมดิน ทำความตกลงเพื่อลดขั้นตอนในการขออนุมัติ อนุญาต) ปัญหาการขาดความโปร่งใสในการตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน (เช่น สร้างระบบการแจ้งเบาะแสโดยไม่เปิดเผยชื่อผู้แจ้งข้อมูล) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจเสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีได้รับแจ้งมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว หากเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ ให้แจ้งปัญหาและอุปสรรคต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป ทั้งนี้ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ครบกำหนดวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567)
                   คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 เห็นชอบมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 6 ข้อ สรุปได้ ดังนี้
                   1. การแก้ไขประเด็นปัญหาด้านกฎหมาย กฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน
                             (1) ควรปรับปรุงกฎหมาย หรือกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการขุดดินและถมดิน เพื่อให้การควบคุม ดูแลการขุดดินและถมดินมีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันการทุจริตได้มากยิ่งขึ้น โดยให้กำหนดถึงแนวทางในการขนย้ายดินหลังจากที่มีการขุดดินและถมดินด้วย
                             (2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอนุมัติ อนุญาตในการขุดดินและถมดิน ทำความตกลงเพื่อลดขั้นตอนในการอนุมัติ อนุญาต ซึ่งจะทำให้กระบวนการอนุมัติ อนุญาต มีความโปร่งใสมากขึ้น เช่น ร่วมกันพิจารณาออกกฎระเบียบการใช้หน้าที่และอำนาจในการออกใบอนุญาตเป็นกฎระเบียบร่วม พร้อมทั้งให้นำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้การอนุมัติ อนุญาต การออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต

                             (3) ควรร่วมกันจัดทำแผนที่แสดงเขตพื้นที่ที่สามารถขออนุญาตขุดดินและถมดินได้โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เพื่อป้องกันมิให้เกิดการให้ใบอนุญาตในพื้นที่ห้ามขุดดิน

                               (4) ควรมีการวิเคราะห์ว่าในแต่ละสภาพพื้นที่สามารถขุดดินและถมดินได้หรือไม่ รวมถึงผลกระทบจากการขุดดินและถมดิน และแนวทางในการฟื้นฟูสภาพดินและสิ่งแวดล้อม

                   2. การแก้ไขปัญหาการขออนุญาตชุดดินลูกรังในที่เขาหรือภูเขาและพื้นที่นอกเขตเขาและปริมณฑลรอบเขา 40 เมตร การแก้ไขปัญหาการอนุญาตในการดูดทราย และการขุดลอกคลองเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้งสำหรับแม่น้ำภายในเขตจังหวัด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำความตกลงและจัดทำคู่มือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
                   3. การแก้ไขปัญหาการกำกับดูแลการดำเนินการขุดดินและถมดิน การบังคับใช้กฎหมายยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเคร่งครัดหรือมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม ดูแลตามภารกิจ หน้าที่ และอำนาจ
                             (1) ต้องมีมาตรการหรือแนวทางในการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีการลงโทษอย่างจริงจังสำหรับผู้ใช้อิทธิพลและอำนาจ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่เจตนาแสวงหาประโยชน์โดยมีชอบในการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน และควรมีการสร้างระบบของการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำถูกต้องตามกฎหมายและมีระบบป้องกันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ร่วมกระทำการทุจริตเกิดความเกรงกลัวที่จะกระทำความผิด
                             (2) ต้องอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้อย่างเพียงพอ มีการกำหนดระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
                             (3) ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการชุดดินและถมดิน

                   4. ปัญหาการขาดความโปร่งใส่ในการตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้หน่วยงานที่มีที่ดินอยู่ในความดูแลของตนเองสร้างกลไกในการเฝ้าระวังเกี่ยวกับการชุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องสร้างระบบการแจ้งเบาะแสโดยไม่เปิดเผยชื่อผู้แจ้งข้อมูล โดยจัดให้มีช่องทางที่เหมาะสมซึ่งอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้งรายงานผลการดำเนินการภายหลังได้รับการแจ้งเบาะแสให้ประชาชนผู้แจ้งเบาะแสรับทราบด้วยและต้องมีกลไกในการคุ้มครองประชาชนผู้แจ้งเบาะแสด้วยเช่นกัน
                   5. ปัญหาในภาพรวมที่มีความเกี่ยวกับหลายหน่วยหน่วยงาน การลักลอบชุดดิน การออกใบอนุญาตประกอบกิจการขุดดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การขุดดินขณะที่ใบอนุญาตหมดอายุ การขุดดินผิดไปจากแบบแปลนตามหลักวิชาการ การขุดดินเกินกว่าที่ขออนุญาต การขุดดินในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือที่ดินเอกชน การชุดดินที่กระทบถึงความปลอดภัยการบรรทุกดินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดทำให้ถนนเกิดความชำรุดเสียหายซึ่งกระทบต่องบประมาณของภาครัฐจำนวนมากในการซ่อมบำรุงเส้นทาง การแก้ไขปัญหาในข้อนี้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังเป็นรายกรณี
                   6. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการดำเนินการตามมาตรการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณา และมีมติมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ให้ มท. รายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการฯ เสนอต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นประจำทุกปีด้วย

15. เรื่อง มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ตามที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติ โดยให้กระทรวงมหาดไทยสรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ขอให้นำมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเสนอคณะรัฐมนตรี เช่น เร่งรัดพัฒนาระบบเทคโนโลยีการขออนุญาต/ใบรับรองการก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคารทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดให้มีคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาออกใบอนุญาต จัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561   ที่บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจเสนอมาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีและเมื่อคณะรัฐมนตรีได้รับแจ้งมาตรการฯ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว หากเป็นกรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ให้แจ้งปัญหาและอุปสรรคต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบต่อไป ทั้งนี้ ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ครบกำหนดวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567)

                   คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร จำนวน 5 ข้อ สรุปได้ ดังนี้
                   1. เห็นควรให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเร่งรัดในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการขออนุญาตก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคารออนไลน์ และการขอใบรับรองการก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคารทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดแผนและระยะเวลาเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการขออนุญาตก่อสร้าง หรืออาคารออนไลน์ให้ชัดเจน พร้อมทั้งให้ อปท. และ อปท. รูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารออนไลน์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและพัฒนาระบบติดตามการขออนุญาตออนไลน์ เพื่อตรวจสอบถึงสถานะของการพิจารณาอนุมัติ อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารของหน่วยงานได้ เพื่อเป็นการลดช่องทางการติดต่อระหว่างผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตโดยตรง จะทำให้การดำเนินการอนุญาตเป็นไปด้วยความรวดเร็วขึ้น ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้มาติดต่อ และลดการใช้ดุลพินิจ การทุจริตเรียกรับผลประโยชน์ในการออกใบอนุญาตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   2. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ควรพัฒนาระบบ One Stop Service โดยการเชื่อมโยงการอนุมัติ อนุญาต ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ควรบูรณาการการทำงานร่วมกัน และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน รวมถึงควรมีการเปิดเผยข้อมูล   ทุกหน่วยงาน โดยการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต้องคำนึงถึงมาตรฐานของข้อมูล คุณภาพของข้อมูล ความสะดวกในการนำไปใช้ต่อของผู้ใช้งานข้อมูล และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลที่หน่วยงานภาครัฐเปิดเผย                    ให้ประชาชนเข้าถึงได้ครบถ้วน ง่าย สะดวก ไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีข้อจำกัด การมีข้อมูลที่ครบถ้วนที่ภาครัฐเปิดเผยจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้
                   3. ควรใช้กลไกการตรวจสอบโดยเอกชน (Third Party Inspector) เข้ามามีบทบาทร่วมตรวจแบบแปลนและการก่อสร้างทั้งในขั้นตอนก่อนก่อสร้าง ระหว่างก่อสร้าง และหลังก่อสร้าง เช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารทั้งในส่วนของพระราชบัญญัติและกฎกระทรวง รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่อำนาจในการพิจารณาออกใบอนุญาตยังคงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดิม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการตรวจสอบความปลอดภัยอาคารมีมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด โดยต้องกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายตรวจเอกชนให้รัดกุม เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของนายตรวจเอกชนเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ถูกต้อง และโปร่งใส ซึ่งจะทำให้การพิจารณารวดเร็ว ลดปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์ได้ รวมถึงแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เพียงพออีกด้วย
                   4. ควรจัดให้มีคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และประชาชนที่ขอใบอนุญาตดังกล่าว โดยเป็นคู่มือเกี่ยวกับรายละเอียดการพิจารณาอาคาร หรือดัดแปลงอาคารแต่ละประเภท พร้อมทั้งจัดทำในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ รวมถึงการมีรายการตรวจสอบ (Checklist) ที่เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต และควรจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในกระบวนการอนุมัติ อนุญาต อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ลดปัญหาการเกิดความเข้าใจผิดระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน
                   5. ควรจัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการ ตลอดจนสิทธิที่ได้รับในการแจ้งเบาะแสการทุจริตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2553
 
16. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการ เงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นเงินอุดหนุนค่าจัดการเรียนการสอน
                   คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 738.45 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าจัดการเรียนการสอน โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โครงการฯ) โดยให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
สาระสําคัญของเรื่อง
ศธ. รายงานว่า
1. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ได้รับจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานยุทธศาสตร์สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โครงการฯ งบเงินอุดหนุน รายการค่าจัดการเรียนการสอน จํานวน 22,196.54 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนให้กับนักเรียน จํานวน 1,806,494 คน แต่เนื่องจากนักเรียนในภาคเรียนที่ 1/2567 มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 1,840,970 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567) ซึ่งมีจํานวนมากกว่า ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณไว้ 34,476 คน ส่งผลให้มีงบประมาณไม่เพียงพอสําหรับจัดสรรให้กับ โรงเรียนเอกชนในภาคเรียนที่ 1/2567 จํานวน 166.59 ล้านบาท (เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567)
2. เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติ (9 กรกฎาคม 2567) ให้ ศธ. พิจารณา ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรรงบประมาณ หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูสําหรับนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัด สช. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในโอกาสแรกก่อน (ตามข้อ 2) ศธ. โดย สช. ได้คํานวณงบประมาณดังกล่าวในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครูโดยใช้จํานวนนักเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567) ที่ได้รับค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนรายการค่าจัดการเรียนการสอนระหว่าง เดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567 (ระยะเวลา 5 เดือน) ซึ่งพบว่า จะต้องใช้งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 572.36 ล้านบาท
3. ศธ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจาก ศธ. มีงบประมาณไม่เพียงพอสําหรับอุดหนุนให้กับนักเรียนในภาคเรียนที่ 1/2567 จํานวน 166.59 ล้านบาท (ตามข้อ 1) และสําหรับอุดหนุนรายการค่าจัดการเรียนการสอนในส่วนของเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู จํานวน 572.36 ล้านบาท
 
17. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,034,352,700 บาท ให้กองบัญชาการกองทัพไทยและกองทัพบก (ทบ.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริการบริหารจัดการน้ำประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                   นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ กห. (กองบัญชาการกองทัพไทย และ ทบ.) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 224 รายการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,034,352,700 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเบิกจ่ายในงบลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และให้ กห. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอทำความตกลงกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

รายการ

วงเงิน (บาท)

(1) กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 103 รายการ เช่น 1) การขุดลอกแหล่งน้ำหนองกว่าง ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย 2) การขุดลอกลำน้ำห้วยน้ำภู ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

266,375,500

(2) ทบ. จำนวน 121 รายการ เช่น 1) การขุดลอกอ่างเก็บน้ำโนนกระสังข์ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 2) การขุดลอกคลองลำดา บ้านสาคอ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

767,677,200

รวมทั้งสิ้น

1,034,352,700

 
18. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาการประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราขอาณาจักร (กอ.รมน.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบสรุปผลการประเมินพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในเขตพื้นที่อําเภอยี่งอ อําเภอสุไหงโก-ลก อําเภอแว้ง และอําเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อําเภอยะหริ่ง อําเภอไม้แก่น อําเภอกะพ้อ  อําเภอมายอ อําเภอแม่ลาน อําเภอปะนาเระ และอําเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี อําเภอเบตง อําเภอกาบัง อําเภอกรงปินัง และอําเภอรามัน จังหวัดยะลา และอําเภอนาทวี อําเภอจะนะ อําเภอเทพา และอําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เพื่อประกอบการพิจารณาขอขยายเวลา การประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
2. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบ ต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในเขตพื้นที่อําเภอยี่งอ อําเภอสุไหงโก-ลก อําเภอแว้ง และอําเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อําเภอยะหริ่ง อําเภอไม้แก่น อําเภอกะพ้อ อําเภอมายอ อําเภอแม่ลาน อําเภอปะนาเระ และอําเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี อําเภอเบตง อําเภอกาบัง อําเภอกรงปินัง และอําเภอรามัน จังหวัดยะลา และอําเภอนาทวี อําเภอจะนะ อําเภอเทพา และอําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
3. ให้ความเห็นชอบ
          3.1 ร่างประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
          3.2 ร่างประกาศ เรื่อง การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
        3.3 ร่างประกาศ เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดอันมีผลกระทบ ต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
        3.4 ร่างข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
สาระสำคัญ
1. โดยที่ประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในเขตพื้นที่อำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ อำเภอมายอ อำเภอแม่ลาน อำเภอปะนาเระ และอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี อำเภอเบตง อำเภอกาบัง อำเภอกรงปินัง และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2567
2. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรพิจารณาแล้วเห็นว่าแนวโน้มสถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าว แม้กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงไม่สามารถกระทำได้อย่างเสรี เนื่องจากหน่วยงานในพื้นที่มีการบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง และมีการจับกุมผู้ก่อเหตุรุนแรงระดับปฏิบัติการได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สมาชิกผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ยังไม่สามารถติดตามจับกุมได้หรือหลบหนีออกนอกพื้นที่ ยังคงมีความพยายามสร้างสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและอาจกลับเข้ามาสร้างสถานการณ์หรือก่อเหตุความไม่สงบต่อเป้าหมายที่อ่อนแอหรือเป้าหมายที่ไม่มีการระวังป้องกันในพื้นที่ได้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังมีความต้องการขยายระยะเวลาในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถบริหารจัดการพื้นที่และสามารถดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่กระทำความผิดเพราะหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้เข้ารับการอบรมตามคำสั่งศาล และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดแทนการดำเนินคดีอาญา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้นั้นกลับตัว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
3. จึงสมควรให้ขยายระยะเวลาการประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในเขตพื้นที่อำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ อำเภอมายอ อำเภอแม่ลาน อำเภอปะนาเระ และอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี อำเภอเบตง อำเภอกาบัง อำเภอกรงปินัง และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
 
19. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ การจัดทำงบประมาณ รายจ่ายบูรณาการ และมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ ดังนี้
                   1) อนุมัติหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการยืนยันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 (ตามข้อ 1.)
                   2) อนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
16 กรกฎาคม 2567 (เกี่ยวกับการมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีให้กำกับแผนงานบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่คณะรัฐมนตรีชุดเดิมอนุมัติไว้)
                   3) อนุมัติการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 10 แผนงานบูรณาการ ซึ่งเป็นแผนงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ตามข้อ 2.)
                   4) อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยให้มีคณะกรรมการ จำนวนทั้งสิ้น 6 คณะ โดยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวต่อไป (ตามข้อ 2.)

                   5) รับทราบการยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำหรับการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ตามข้อ 3.)

                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จะต้องมีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการนั้น ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามนัยมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (14 ธันวาคม 2564) เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและ สงป. เห็นว่าควรให้มีผลใช้บังคับต่อไป สรุป ดังนี้
                   1.1 หลักเกณฑ์การกำหนดแผนงานบูรณาการ

                             1.1.1 เป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 -2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติและนโยบายรัฐบาลในประเด็น/เรื่อง (Agenda) หรือการพัฒนาในระดับพื้นที่ (Area) ที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มีความเร่งด่วน มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน และมีความสำคัญในระดับวาระแห่งชาติ (National Agenda)

                              1.1.2 เป็นการดำเนินการรองรับนโยบายของรัฐบาลและจำเป็นต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการในภาพรวมของทั้งประเทศร่วมกัน ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญระดับสูง และต้องเชื่อมโยงการทำงานอย่างเป็นระบบ

                             1.1.3 มีหน่วยรับงบประมาณตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไปซึ่งไม่อยู่ในกระทรวงเดียวกันร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการในแต่ละเป้าหมายของแผนงานบูรณาการ

                   1.2 วิธีการจัดทำแผนงานบูรณาการ
                             1.2.1 การจัดทำแผนงานบูรณาการต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ เป้าหมายร่วม วัตถุประสงค์ งบประมาณรายจ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินการ ระยะเวลาการดำเนินการที่ชัดเจน สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ รวมทั้งภารกิจของหน่วยรับงบประมาณที่เป็นเจ้าภาพหลักและหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้อง
                             1.2.2 การกำหนดระยะเวลาดำเนินการของแผนงานบูรณาการต้องมีระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนระหว่าง 3 - 5 ปี หรือตามกรอบระยะเวลาที่รัฐบาลต้องการดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และในกรณีที่เป็นประเด็นตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติควรกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานของแผนงานบูรณาการให้สอดคล้องกับระยะเวลาของแผนงานข้างต้น
                             1.2.3 ควรมีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด ดังนี้

                                      (1) ควรกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดในภาพรวมของแผนงานบูรณาการให้สอดคล้องกับระยะเวลาการดำเนินงานของแผนงาน รวมทั้งแสดงเป้าหมายและตัวชี้วัดรายปีให้ชัดเจน

                                      (2) ภายใต้เป้าหมายแผนงานบูรณาการในแต่ละเป้าหมายต้องมีหน่วยรับงบประมาณตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป ซึ่งไม่อยู่ในกระทรวงเดียวกันร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ และต้องมีการกำหนดหน่วยรับงบประมาณที่เป็นเจ้าภาพของแต่ละเป้าหมาย รวมทั้งจัดทำแนวทางการดำเนินการของแต่ละเป้าหมายให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันในลักษณะห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

                                      (3) การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนงานบูรณาการ ต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดในลักษณะของตัวชี้วัดร่วมระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) และในกรณีที่ตัวชี้วัดมีการอ้างอิงกับตัวชี้วัดตามมาตรฐานสากลจะต้องกำหนดการดำเนินงานและตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดสากลดังกล่าว
                             1.2.4 งบประมาณรายจ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของแผนงานบูรณาการต้องเป็นงบประมาณที่นำส่งผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของแผนงานบูรณาการ โดยไม่นำค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็นงานประจำและ/หรือภารกิจพื้นฐานของหน่วยงานมากำหนดไว้ และต้องแสดงให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
                             1.2.5 หน่วยงานเจ้าภาพหลักของแผนงานบูรณาการจะต้องร่วมกับเจ้าภาพในแต่ละเป้าหมายจัดทำรายงานผลการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแต่ละปี เพื่อประกอบการทบทวนและวางแผนจัดทำงบประมาณในปีต่อไป และจัดทำรายงานเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผนงานบูรณาการนั้น ๆ
                   2. สงป. เสนอให้มีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 10 แผนงานบูรณาการ ซึ่งเป็นแผนงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้

ยุทธศาสตร์

แผนงานบูรณาการ

ด้านความมั่นคง

1) แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2) แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด

ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

3) แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
4) แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
5) แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
6) แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

7) แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย

ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

8) แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

9) แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
10) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล

นอกจากนี้ สงป. เสนอให้มีคณะกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 6 คณะ โดยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ต่อไป มีรายละเอียดสรุปดังนี้
                   2.1 องค์ประกอบและหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ประกอบด้วย

หัวข้อ

รายละเอียด

องค์ประกอบของคณะกรรมการ

(1) ประธานกรรมการ : รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลหน่วยงานเจ้าภาพหรือรองนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
(2) รองประธานกรรมการ : รัฐมนตรีที่กำกับดูแลหน่วยงานเจ้าภาพหรือรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(3) กรรมการ :
          (3.1) ปลัดกระทรวงของหน่วยงานเจ้าภาพและหัวหน้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          (3.2) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
          (3.3) เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          (3.4) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
          (3.5) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(4) กรรมการและเลขานุการร่วม :
          (4.1) หัวหน้า/ผู้แทนหน่วยงานเจ้าภาพ
          (4.2) ผู้แทนสำนักงบประมาณ
          (4.3) ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          (4.4) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ

(1) กำหนดหลักเกณฑ์ วัตถุประสงค์ ขอบเขตภารกิจ เป้าหมายร่วมแนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด หน่วยรับงบประมาณที่เป็นเจ้าภาพหลักในแต่ละเป้าหมายและหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุม ครบถ้วน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ
(2) ประสานหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องให้จัดทำโครงการ กิจกรรมและงบประมาณรายจ่ายที่จะต้องใช้ในการดำเนินการงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
(3) พิจารณาโครงการ กิจกรรม และงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของแผนงานบูรณาการที่ได้รับมอบหมาย
(4) จัดทำข้อเสนอการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณตามกรอบระยะเวลาของการดำเนินการพร้อมจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณส่ง สงป.

หน้าที่และอำนาจของประธานกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568เป็นผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ

(1) บริหาร กำกับ ดูแลการปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานบูรณาการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ด้วยความโปร่งใสและถูกต้อง ปราศจากการทุจริตรวมทั้งบูรณาการการทำงานในทุกมิติ ทั้งในระดับพื้นที่และหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องตามแผนงานบูรณาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารรายจ่ายบูรณาการ
(2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานในการปฏิบัติงาน เชิญหน่วยรับงบประมาณมาให้ข้อมูลประกอบการพิจารณา ชี้แจงรายละเอียดและข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็น
(3) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

                   2.2 มอบหมายรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ดังนี้
                             2.2.1 นายภูมิธรรม เวชยชัย จำนวน 2 แผนงาน คือ
                                      (1) แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                      (2) แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด
                             2.2.2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ จำนวน 2 แผนงาน คือ
                                      (1) แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
                                      (2) แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์
                             2.2.3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล จำนวน 1 แผนงาน คือ แผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                             2.2.4 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค จำนวน 2 แผนงาน คือ
                                      (1) แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
                                      (2) แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต
                             2.2.5 นายพิชัย ชุณหวชิร จำนวน 1 แผนงาน คือ แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                             2.2.6 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง จำนวน 2 แผนงาน คือ
                                      (1) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล
                                      (2) แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                             โดยให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับแผนงานบูรณาการตามที่ได้รับมอบหมาย มีหน้าที่และอำนาจบริหาร กำกับ ดูแลการปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานบูรณาการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ด้วยความโปร่งใสและถูกต้อง ปราศจากการทุจริต รวมทั้งบูรณาการการทำงานในทุกมิติทั้งในระดับพื้นที่และหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องตามแผนงานบูรณาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารรายจ่ายบูรณาการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 และระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 รวมทั้งดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                   2.3 โดยที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 โดยกำหนดแผนบูรณาการ จำนวน 10 แผนงาน ดังนั้น เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายบูรณาการให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ผู้อำนวยการ สงป. จึงอาศัยอำนาจตามข้อ 6 วรรคสองของระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ และงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 12 สำหรับการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ตั้งไว้สำหรับหน่วยรับงบประมาณใดไปตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณอื่นภายใต้แผนงานบูรณาการเดียวกัน [ยกเว้นขั้นตอนการดำเนินการตามระเบียบฯ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับล่าช้ากว่าที่กำหนด เช่น เมื่อสิ้นไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ (สิ้นเดือนมีนาคม) ให้ สงป. ตรวจสอบผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ หากปรากฏว่ามีงบประมาณรายจ่ายบูรณาการที่ก่อหนี้ผูกพันไม่เป็นไปตามแผน ให้ สงป. แจ้งให้หน่วยรับงบประมาณตรวจสอบข้อมูลโดยเร็ว]
 
20. เรื่อง โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย การประปาส่วนภูมิภาคสาขาพังงา-ภูเก็ต
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ดำเนินโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพังงา-ภูเก็ต จากวงเงินรวมเดิม 3,870.91 ล้านบาท ปรับเพิ่มเป็น 5,294.49 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   เดิมกระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้ กปภ. ดำเนินโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพังงา-ภูเก็ต (โครงการฯ) วงเงินงบประมาณ 3,870.91  ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 อย่างไรก็ตาม มท. แจ้งว่า กปภ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2567  ซึ่งราคาค่าก่อสร้างได้ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาที่ มท. ได้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีในช่วงปี 2562 เช่น ค่าเหล็ก ค่าเครื่องสูบน้ำ ค่าท่อทุกขนาด ค่าน้ำมันและค่าขนส่ง เป็นต้น ส่งผลให้กรอบวงเงินรวมของโครการฯ เปลี่ยนแปลงไป รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

วงเงินเดิม

วงเงินใหม่

เพิ่มขึ้น

        แผนงานก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพังงา-ภูเก็ต วงเงิน 4,673.97 ล้านบาท

1. ค่าก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพังงา-ภูเก็ต                 ระยะที่ 1 เช่น การก่อสร้างระบบผลิตน้ำขนาด 72,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน การก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำแห่งใหม่ การก่อสร้างและปรับระบบสูบจ่ายน้ำ

2,597.00

3,269.87

672.87

2. ค่าก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาขาพังงา-ภูเก็ต ระยะที่ 2  เช่น การปรับปรุงสถานีผลิตน้ำเดิมจาก 72,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เป็น 120,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน การก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำแห่งใหม่

920.76

1,404.10

483.31

         แผนการบริหารจัดการลดน้ำสูญเสีย กปภ. สาขาภูเก็ต วงเงิน 620.52 ล้านบาท

3. ค่าบริหารจัดการลดน้ำสูญเสีย เช่น การจ้างงานเปลี่ยนท่อ/วางท่อใหม่ การจ้างงานซ่อมท่อ การจ้างงานทดสอบความเที่ยงตรง มาตรวัดน้ำหลัก การดำเนินการสำรวจหาท่อรั่ว

353.12

620.52

267.40

กรอบวงเงินรวมโครงการ

3,870.91

5,294.49

1,423.58

 

                   ทั้งนี้ แหล่งงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย (1) เงินงบประมาณ 3,505.48 ล้านบาท (2) เงินกู้ในประเทศ 1,168.49 ล้านบาท และ (3) เงินรายได้ของ กปภ. 620.52 ล้านบาท โดย กปภ. จะดำเนินการบรรจุวงเงินกู้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะตามขั้นตอนต่อไป
                   2. กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและละสหกรณ์ สำนักงประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง รวมทั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้เห็นชอบแผนงานก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพังงา-ภูเก็ตด้วยแล้ว

 

21. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือด้านค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ที่หน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัย สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม 2567
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดําเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก ตามประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าในปัจจุบันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ในพื้นที่ที่หน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัย ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

                   สาระสำคัญ
                   กระทรวงมหาดไทย โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้จัดทําข้อเสนอเพื่อดําเนินมาตรการช่วยเหลือด้านค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ที่หน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัยสําหรับค่าไฟฟ้าประจําเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                   1. ไม่เรียกเก็บค่าไฟฟ้าประจําเดือนกันยายน 2567 โดยกําหนดให้เป็นส่วนลดก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
                   2. ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าร้อยละ 30 โดยกําหนดให้เป็นส่วนลดก่อนการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สําหรับค่าไฟฟ้าประจําเดือนตุลาคม 2567
                   ประโยชน์และผลกระทบ
การช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ที่หน่วยงานราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากอุทกภัย จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบภัยได้
 
22. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อใช้จ่ายสําหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 2,850.00 ล้านบาท  เพื่อใช้จ่ายสําหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ  ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.)  เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   สํานักงบประมาณได้นําเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบให้กรมบัญชีกลางใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 2,850.00 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายสําหรับงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ ที่มีผลการเบิกจ่ายจริงสูงกว่า งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อบรรเทาภาระเงินคงคลังและการตั้งงบประมาณ รายจ่ายประจําปีเพื่อชดใช้เงินคงคลังดังกล่าว
 
23. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง จังหวัดเพชรบูรณ์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากรายการโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นอ่างเก็บน้ำห้วยส้มป่อย จังหวัดกาฬสินธุ์ วงเงิน 21,000,000 บาท เป็นรายการโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง จังหวัดเพชรบูรณ์ วงเงิน 19,115,500 บาท รวมทั้งอนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง จังหวัดเพชรบูรณ์ วงเงิน 19,115,500 บาท ผูกพันงบประมาณปี พ.ศ. 2567 – 2568 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                        สาระสำคัญ
                        1. กรมชลประทาน มีความจำเป็นต้องยกเลิกรายการที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แผนงานยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำและงานชลประทาน งบลงทุน จำนวน 1 รายการ คือ โครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำห้วยสัมป่อย จังหวัดกาฬสินธุ์ วงเงินรวมทั้งสิ้น 21,000,000 บาท เนื่องจากกรมชลประทานดำเนินการตรวจสอบสภาพพื้นที่ที่ดำเนินการจริงพบว่า สภาพพื้นที่ภูมิประเทศในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ศึกษาไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2546 จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาปรับลดระดับเก็บกัก ทำให้โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยส้มป่อย จังหวัดกาฬสินธุ์ไม่เข้าข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการงานดังกล่าวตามที่ตั้งงบประมาณไว้
                   2. เนื่องจากราษฎรในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ส่งผลให้พื้นที่ทางการเกษตรและพื้นที่ย่านเศรษฐกิจได้รับความเสียหายในปี พ.ศ. 2563 กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการศึกษาโครงการเบื้องต้น (Reconnaissance Study Report) โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่าเป็นโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีหัวงานตั้งอยู่ที่ ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความจุเก็บกัก 18.27 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนดิน กว้าง 10.00 เมตร ยาว 269.00 เมตร สูง 62.00 เมตร สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ชลประทานฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่บ้านวังเหว และบริเวณใกล้เคียงได้ 19,100 ไร่ และ 9,000 ไร่ ตามลำดับ และส่งน้ำช่วยเหลือเพื่อการอุปโภคบริโภคได้ 28,000 ลูกบาศก์เมตร/เดือน และเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำป่าสัก เพื่อตัดยอดน้ำที่มีปริมาณมาก จนทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมถึงการช่วยเหลือช่วงฝนทิ้งช่วงกว่า 19,100 ไร่ พร้อมทั้งเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้งกว่า 9,000 ไร่ โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของกรมชลประทาน ในการเพิ่มพื้นที่ชลประทานไม่น้อยกว่า 10 ล้านไร่ ตามเป้าหมายของรัฐบาล จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์อย่างเร่งด่วน เพื่อวางแผนการกักเก็บน้ำในตอนบนของลุ่มน้ำป่าสัก เพื่อตัดยอดน้ำ และชะลอการไหลของน้ำ เก็บน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และแก้ไขการขาดแคลนน้ำของประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วน
                        3. สำนักงบประมาณ ได้มีหนังสือ ที่ นร 0707/10711 ลงวันที่ 17 กันยายน 2567 อนุมัติให้กรมชลประทานเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้แผนงานโครงการ งบรายจ่าย และรายการโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นอ่างเก็บน้ำห้วยส้มป่อย จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นรายการโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายในกรอบวงเงิน 19,115,500 บาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 450 วัน แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรดังกล่าว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ กรมชลประทานจึงต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ตามนัยข้อ 7
(3) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ประกอบกับรายการโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำบ้านปากช่อง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีระยะเวลาดำเนินการเกินกว่าหนึ่งปีงบประมาณ
จึงเป็นการดำเนินการในลักษณะก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี กรมชลประทานจึงต้องเสนอขอต่อคณะรัฐมนตรี ตามนัยมาตรา 42 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติรายการดังกล่าวแล้ว ขอให้กรมชลประทานปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญและขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณอีกครั้งตามขั้นตอนต่อไป

 

ต่างประเทศ

24. เรื่อง คำมั่นของสมาชิกแนวร่วมในการรับมือกับภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ระดับโลก
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเข้าร่วมคำมั่นของสมาชิกแนวร่วมเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ในระดับโลก ซึ่งจะประกาศในกิจกรรม Leader’s Summit of the Global Coalition to Address Synthetic Drugs ในวันที่ 24 กันยายน 2567 ในช่วงสัปดาห์ผู้นำของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 79 ที่นครนิวยอร์ก ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง รวมทั้งเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมสนับสนุนคำมั่นดังกล่าวในกิจกรรม Leader’s Summit of the Global Coalition to Address Synthetic Drugs ในวันที่ 24 กันยายน 2567 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   ไทยเป็นสมาชิกแนวร่วมในการรับมือกับภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ระดับโลก (Global Coalition to Address Synthetic Drug Threats) ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อป้องกันและปราบปรามภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ และเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 นายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อเปิดตัวแนวร่วมฯ ซึ่งมีการรับรองปฏิญญาว่าด้วยการเร่งรัดและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรับมือในระดับโลกกับภัยคุกคามยาเสพติดสังเคราะห์ (Ministerial Declaration on Accelerating and Strengthening the Global Response to Synthetic Drugs) โดยไทยได้เข้าร่วมแนวร่วมฯ และร่วมรับรองปฏิญญาดังกล่าว
                   กิจกรรม Leader’s Summit of the Global Coalition to Address Synthetic Drugs กำหนดจะมีขึ้นในวันที่ 24 กันยายน 2567 โดยจะมีการกล่าวถ้อยแถลงโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ การบันทึกเทปวีดิทัศน์สรุปความสำเร็จของ Global Coalition to Address Synthetic Drugs และการกล่าวถ้อยแถลงโดยประมุขของรัฐที่ได้รับเชิญล่วงหน้า โดยมีประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
                   สาระสำคัญของคำมั่นฯ
                   คำมั่นของสมาชิกแนวร่วมเพื่อรับมือภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ในระดับโลกมีสาระสำคัญ ดังนี้
                   (1) การควบคุมยาเสพติดสังเคราะห์และสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตยาเสพติดสังเคราะห์ภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศโดยคณะกรรมาธิการยาเสพติด (commission on Narcotic Drugs: CND)
                   (2) การทบทวนนโยบาย มาตรการควบคุม ระบุช่องว่างที่เป็นอุปสรรคในการจัดการกับภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินการที่เหมาะสมในการปิดช่องว่างเหล่านี้
                   (3) การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทาน และขัดขวางการลักลอบขนยาเสพติด รวมถึงส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านการรู้จักลูกค้าผู้ใช้ การป้องกันการดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมายทั้งในสาขาเคมีภัณฑ์ ยารักษาโรค การขนส่ง ไปรษณียภัณฑ์       สื่อสังคม และภาคการเงิน
                   (4) การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งที่น่าสงสัยหรือการลักลอบขนยาเสพติดระหว่างหน่วยงานในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
                   (5) การพัฒนากลไกเพื่อติดตามข้อมูลในเวลาจริง ณ ขณะนั้น (real-time) เกี่ยวกับแนวโน้มการใช้ยาเสพติดโดยผิดกฎหมายและการแบ่งปันข้อมูลในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศตามความเหมาะสม
                   (6) การขยายการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและบริการด้านสาธารณสุข รวมถึงมาตรการด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ซึ่งมีสาเหตุจากการใช้ยาเกินขนาด เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตโดยมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา ตลอดจนเพิ่มการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้สารต่าง ๆ
                   (7) สนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงานตามความเหมาะสมและเป็นไปโดยสอดคล้องกับงบประมาณและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
                   ประโยชน์และผลกระทบ
                   การเข้าร่วมคำมั่นกับสมาชิกแนวร่วมในการรับมือภัยคุกคามจากยาเสพติดสังเคราะห์ระดับโลกจะเป็นโอกาสให้ไทยได้แสดงจุดยืนเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดและสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ ทั้งในระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ โดยการมีความร่วมมือกับประเทศที่มีบทบาทนำในเวทีระหว่างประเทศในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
 
25. เรื่อง ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 42 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 42 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 42  2) ร่างถ้อยแถลงเพื่อการพิจารณาสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหรัฐอเมริกาด้านพลังงาน 3) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านพลังงาน (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ครั้งที่ 21     4) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 18 และ 5) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ฉบับที่ 5
                   2. อนุมัติได้ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้ให้การรับรองเอกสารสำหรับการประชุมดังกล่าวในช่วงการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 42 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องในระหว่างวันที่ 24 - 27 กันยายน 2567 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.สาว
                   ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                   สาระสำคัญร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ทั้ง 5 ฉบับ
                   1. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 42 มีสาระสำคัญ เช่น (1) วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนและกรอบยุทธศาสตร์ของอาเซียนที่มีความเชื่อมโยงกับพลังงาน อาทิ เศรษฐกิจหมุนเวียน เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน เศรษฐกิจภาคพื้นทะเล การลดการปล่อยคาร์บอนในภาคขนส่ง การยกระดับห่วงโซ่คุณค่า และเศรษฐกิจดิจิทัล (2) ความก้าวหน้าที่สำคัญที่เกิดขึ้นภายใต้การเป็นประธานของ สปป.ลาว อาทิ การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน การพัฒนาความตกลงว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียนฉบับใหม่ การเปิดตัวรายงานทิศทางพลังงานอาเซียน ฉบับที่ 8 และแนวคิดหลักของแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังงานสำหรับปี พ.ศ. 2568-2573 (3) การหารือกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ และทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่เป็นธรรม ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาค
                   2. ร่างถ้อยแถลงเพื่อการพิจารณาสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหรัฐอเมริกาด้านพลังงาน มีสาระสำคัญ 1) การสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนให้ดำเนินการตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDCs) และการจัดตั้งศูนย์กลางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาเซียน (ASEAN Climate Solutions Hub) 2) ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหรัฐอเมริกา ในการสนับสนุน (1) การพัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (2) การพัฒนาโครงสร้างสถาบัน ตลาดพลังงาน และแผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการซื้อขายไฟฟ้าแบบหลายทิศทางในภูมิภาคอาเซียน (3) กรอบการดำเนินงานทางด้านกฎหมาย การกำกับดูแล และการเงิน สำหรับสายส่งไฟฟ้าใต้ทะเล และ (4) กรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคพื้นทะเลของอาเซียน
                   3. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านพลังงาน (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ครั้งที่ 21 มีสาระสำคัญ เช่น (1) ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านความมั่นคงทางพลังงาน อาทิ โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านน้ำมัน การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่เป็นธรรมโดยการจัดการถ่านหินอย่างมีความรับผิดชอบ การพัฒนายุทธศาสตร์ของไฮโดรเจนและแอมโมเนียระยะยาวในอาเซียน และพลังงานนิวเคลียร์ในการเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก (2) ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านเวทีตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและการหารือเชิงธุรกิจ อาทิ การเพิ่มการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว และการลงทุนอย่างยั่งยืนในโครงสร้างพื้นฐานของก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำควบคู่กับการเข้าถึงพลังงาน (3) ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านพลังงานใหม่ พลังงานหมุนเวียนประสิทธิภาพ และการอนุรักษ์พลังงาน อาทิ การยกระดับมาตรการประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคม และแผนดำเนินการตรวจวัดความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศสมาชิก ภายใต้กรอบหุ้นส่วนความร่วมมือด้านประสิทธิภาพพลังงาน เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของอาเซียน
                   4. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมสุดยอดรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 18  มีสาระสำคัญ เช่น 1) ความคืบหน้ากรอบความร่วมมือด้านพลังงานชีวภาพสำหรับภาคขนส่งและวัตถุประสงค์อื่น อาทิ การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างน้ำ พลังงาน และอาหาร เพื่อการใช้ชีวมวลอย่างยั่งยืน   2) ความคืบหน้ากรอบความร่วมมือประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน อาทิ การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านประสิทธิภาพพลังงาน เพื่อหารือเกี่ยวกับกรอบนโยบายและกฎหมายด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน อาคารปลอดมลภาวะ เทคโนโลยีปั๊มความร้อน เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้ง การกักเก็บความร้อนและการทำความเย็น  3) ความคืบหน้ากรอบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก อาทิ ผลการวิจัยการพัฒนาหลังคาเซลล์แสงอาทิตย์และรูปแบบธุรกิจสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอาเซียนในเวียดนาม และการสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเผาไหม้โดยใช้เชื้อเพลิงสองชนิด 4) การสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจา อาทิ การจัดเวทีหารือสุดยอดด้านพลังงานเอเชียโดยจีน การจัดตั้งโครงการความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนวงเงินมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการพัฒนาการเชื่อมโยงโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน
                   5. ร่างถ้อยแถลงร่วมของโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ฉบับที่ 5 มีสาระสำคัญ เช่น 1) การรับรองถ้อยแถลงร่วมของโครงการทั้งหมด 4 ฉบับ ที่ผ่านมา  2) ความสำเร็จของโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ (LTMS-PIP) ในระยะแรก และการดำเนินการซื้อขายไฟฟ้าหลายทิศทางภายใต้กรอบโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยเริ่มจากการส่งไฟฟ้าจากมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ 3) ความมุ่งมั่นในการพัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียนและการสานต่อและส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนแบบพหุภาคีในอาเซียน สืบเนื่องจากความสำเร็จของโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์
                   ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้จัดสรรงบรายจ่ายอื่น โครงการเจรจาและประชุมนานาชาติ และงบรายจ่ายอื่น โครงการประสานความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพ เพื่อขับเคลื่อนศักยภาพพลังงานของไทยและส่งเสริมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2567 และ ปี พ.ศ. 2568 ไว้สำหรับการดำเนินงานที่เกี่ยวเนื่องกับร่างเอกสารทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงพลังงานแล้ว
                   ประโยชน์และผลกระทบ
                   กระทรวงพลังงานพิจารณาแล้วเห็นว่าร่างเอกสารดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจาระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการใช้และการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนในช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานโดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาคควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านพลังงานโดยสอดคล้องกับสถานการณ์และศักยภาพของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม                     ทั้งนี้ ถ้อยคำในร่างเอกสารดังกล่าวเป็นการระบุถึงความก้าวหน้าการดำเนินการที่ผ่านมา และการวางกรอบแนวทางกว้าง ๆ สำหรับการดำเนินงานในอนาคตโดยไม่มีข้อผูกมัด และตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวนโยบายและความสามารถในการปฏิบัติได้จริงตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ
 
26. เรื่อง การบริจาคเงินเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย 14
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริจาคเงินเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย 14 (Asian Development Fund 14: ADF 14) (กองทุน ADF 14) ของประเทศไทย จำนวน 96,051,216 บาท โดยแบ่งชำระออกเป็น 4 งวด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2571 (หากประเทศไทยสามารถชำระเงินภายในระยะเวลา 4 ปี ตามที่กำหนดจะได้รับส่วนลดที่อัตราร้อยละ 5.13 ของยอดเงินบริจาค คิดเป็นจำนวนเงิน 4,927,427 บาท ซึ่งจะทำให้ยอดเงินบริจาคหลังหักส่วนลดเท่ากับ 91,123,789 บาท) รวมทั้ง มอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่ กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   1. ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ADB ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 มีมติเห็นชอบให้เสนอสภาผู้ว่าการ ADB พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างมติการเพิ่มทุนในกองทุน ADF 14 (ร่างมติฯ) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                             1.1 แนวทางการดำเนินงานของกองทุน ADF 14 เป็นไปตามยุทธศาสตร์ 2030 ของ ADB กรอบการดำเนินการด้านผลลัพธ์ และกรอบการดำเนินการด้านความพอเพียงของทุน โดยมุ่งเน้น 5ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ (2) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพภาคเอกชน (3) ส่งเสริมความร่วมมือและการบูรณาการด้านสินค้าสาธารณะในระดับภูมิภาค (4) การถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาศักยภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล และ (5) การให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีความเปราะบางและได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ
                             1.2 การบริจาคเงินเพิ่มทุนในกองทุน ADF 14 โดยมีประเทศสมาชิกบริจาค จำนวน 35 ประเทศ รวมเป็นเงิน 2,564 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (แบ่งเป็นประเทศในภูมิภาค 17 ประเทศ จำนวนเงินบริจาค 1,820 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศนอกภูมิภาค 18 ประเทศ จำนวนเงินบริจาค 744 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งในส่วนของประเทศไทยจะบริจาคตามขนาดสัดส่วนเดิมที่เคยบริจาคเพิ่มทุนในกองทุน ADF 13 ที่ประเทศไทยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 0.09 ของยอดเงินบริจาคจากประเทศสมาชิกทั้งหมด ทั้งนี้ประเทศไทยได้เข้าร่วมการบริจาคเงินเพิ่มทุนในกองทุน  ADF มาแล้วจำนวน 7 ครั้ง (1 เมษายน 2540 19 มิถุนายน 2544 28 ธันวาคม 2547 26 สิงหาคม 2551 6 มีนาคม 2555 26 เมษายน 2559 23 มีนาคม 2564) โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ประเทศไทยเข้าร่วมบริจาค
                             1.3 การชำระเงินบริจาคในกองทุน  ADF 14 ของประเทศไทย แบ่งชำระเงินบริจาคเป็นเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 – 2571 ดังนี้

กำหนดชำระเงิน

จำนวนเงิน (บาท)

1 กรกฎาคม 2568

22,780,947

1 กรกฎาคม 2569

22,780,947

1 กรกฎาคม 2570

22,780,947

1 กรกฎาคม 2571

22,780,947

รวม

91,123,789*

* หมายเหตุ: ประเทศไทยมียอดบริจาค จำนวน 96,051,216 บาท ซึ่งเป็นการชำระเงินแบบปกติระยะเวลา 11 ปี แต่หากประเทศไทยสามารถชำระเงินภายในระยะเวลา 4 ปี ตามที่กำหนดจะได้รับส่วนลดที่อัตราร้อยละ 5.13 ของยอดเงินบริจาค คิดเป็นจำนวนเงิน 4,927,427 บาท ซึ่งจะทำให้ยอดเงินบริจาคหลังหักส่วนลดเท่ากับ 91,123,789 บาท

                   ทั้งนี้ การชำระเงินบริจาคดังกล่าวสามารถชำระเงินเป็นสกุลเงินบาท ส่งผลให้ประเทศไทยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราการแลกเปลี่ยน สำหรับการชำระเงินบริจาคงวดที่ 1 กค. จะดำเนินการขอรับจัดสรรงบกลาง จากเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ส่วนการชำระเงินบริจาคงวดที่ 2 – 4  ก.ค. จะเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 – 2571 ต่อไป
                   2. เมื่อสภาผู้ว่าการ ADB เห็นชอบร่างมติฯ แล้ว ADB จะส่งร่างเอกสารยืนยันการบริจาค (Instrument of Contribution: IOC) ให้ประเทศผู้บริจาคเพื่อยืนยันจำนวนเงินที่ต้องการบริจาคอย่างเป็นทางการแก่ ADB และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามใน IOC เพื่อยืนยันจำนวนเงินที่ต้องการบริจาคอย่างเป็นทางการแก่ ADB และลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงินคลังประเภทจ่ายเมื่อทวงถามและไม่มีดอกเบี้ย และนำส่งสำเนาให้แก่ ADB เพื่อใช้ในการเรียกชำระเงินบริจาคตามตารางการชำระเงินต่อไป

                   3. การบริจาคเงินเพิ่มทุนในกองทุน ADF 14 เป็นการรักษาจุดยืนของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในฐานะการมีบทบาทเป็นประเทศผู้นำในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานะยากจน รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ภายใต้กองทุน ADF 14 ยังมีโครงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวเมียนมาผ่านองค์การสหประชาชาติ จำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศเพื่อนบ้านและอนุภูมิภาคในอนาคต
 
27. เรื่อง ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูง เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูง เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพ1 (ร่างปฏิญญาฯ) (Political Declaration of the High-level Meeting on Antimicrobial Resistance) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สธ. และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้ง อนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 79 หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ตามที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   ร่างปฏิญญาฯ ที่ สธ. เสนอมาในครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงเนื้อหาของปฏิญญาฯ ฉบับเดิม ให้มีความเป็นปัจจุบันมากขึ้น และยังคงมีสาระสำคัญเป็นการแสดงถึงความสำคัญของการดื้อยาต้านจุลชีพเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพโลกและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทุกประเทศต้องมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเร่งด่วน โดยปฏิญญาฯ ฉบับเดิม จะมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ รวมทั้งมุ่งให้เกิดการรับรองแผนการปฏิบัติการระดับโลกขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ส่วนร่างปฏิญญาฯ ที่เสนอในครั้งนี้ ให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างเป็นรูปธรรมในทุกภาคส่วน และได้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้มีความชัดเจน และครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ การส่งเสริมการเข้าถึงยาต้านจุลชีพ และการวิจัยและพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ รวมถึงเพิ่มบทบาทองค์กรสี่ฝ่าย2 ในการดำเนินงานมากขึ้น โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

สาระสำคัญ

1. การกำกับดูแล

เสริมสร้างความเข้มแข็งของการกำกับดูแลและบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ เช่น (1) พัฒนาหรือปรับปรุงแผนปฏิบัติการระดับชาติ เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพ (2) จัดตั้งสำนักเลขาธิการร่วมสี่ฝ่ายด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ เพื่อเป็นกลไกการประสานกลางในการสนับสนุนการตอบโต้ต่อการดื้อยาต้านจุลชีพในระดับโลก (3) อำนวยความสะดวกในการสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกับองค์กรพหุภาคีที่เกี่ยวข้อง

2. การเงิน

ให้การสนับสนุนทางการเงิน รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ และการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับชาติ เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพ เช่น (1) ส่งเสริมการระดมทรัพยากรทางการเงินและการลงทุนผ่านช่องทางระดับชาติ ทวิภาคี และพหุภาคี (2) อำนวยความสะดวกในการจัดหาเงินทุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ (3) จัดทำข้อมูลแหล่งทุนที่มีในปัจจุบันจากภาคเอกชน องค์กรเพื่อการกุศลและธนาคารเพื่อการพัฒนา

3. การเข้าถึง

เสริมการเข้าถึงยาต้านจุลชีพที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและราคาไม่สูง รวมถึงการควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพในทางที่ผิด และแก้ไขปัญหาการขาดแคลน เช่น (1) เร่งรัดความพยายามที่จะบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้เข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น (2) ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงยาต้านจุลชีพ วัคซีน และการวินิจฉัยได้อย่างเท่าเทียม ทันเวลา และในปริมาณที่มากขึ้น (3) ส่งเสริมให้องค์กรสี่ฝ่ายร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการจัดการกับการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงยาต้านจุลชีพที่มีคุณภาพ การวินิจฉัย วัคซีน และทางเลือกอื่นที่ทดแทนยาต้านจุลชีพใต้อย่างทันท่วงที

4. การตอบสนองความร่วมมือ

ส่งเสริมการดำเนินการร่วมกันเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะและควบคุมปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ (1) ส่งเสริมให้มีความตระหนักด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ รวมถึงการใช้และการกำจัดยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบของภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน (2) ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม รอบคอบ และมีความรับผิดชอบในภาคส่วนต่าง ๆ

5. การวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรม นวัตกรรมและการผลิต

ส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรม การผลิต และนวัตกรรมในการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ เช่น (1) ปรับปรุงความพร้อมใช้งานและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์สุขภาพ (2) สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการสร้างความเชี่ยวชาญในการผลิตวัคซีน ยา การวินิจฉัย และเทคโนโลยีด้านสุขภาพอื่น ๆ เพื่อเอื้ออำนวยให้มีการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม (3) ดำเนินการและเพิ่มมาตรการมุ่งเป้าเกี่ยวกับยาที่ต่ำกว่ามาตรฐานหรือการปลอมแปลง (4) ดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

6. การเฝ้าระวังและการติดตาม

เสริมสร้างความเข้มแข็งของการเฝ้าระวังและการติดตามสถานการณ์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เช่น (1) เสริมสร้างมาตรฐานการวินิจฉัย ระบบข้อมูลห้องปฏิบัติการ และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่สนับสนุนการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพในทุกภาคส่วน (2) สนับสนุนให้ทุกประเทศรายงานข้อมูลจากการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ และการใช้ยาต้านจุลชีพ

7. การติดตามผล

ติดตามการดำเนินงานตามร่างปฏิญญาฯ เช่น (1) ให้องค์กรสี่ฝ่ายดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการจัดทำและเผยแพร่แนวทางอ้างอิงและสนับสนุนทางวิชาการให้แก่ประเทศต่าง ๆ (2) กำหนดให้มีการประชุมระดับสูงเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพครั้งต่อไปในปี 2572 เพื่อทบทวนการดำเนินการตามร่างปฏิญญาฯ รวมถึงระบุช่องว่างและแนวทางแก้ไขเพื่อเร่งรัดให้เกิดความก้าวหน้าในการจัดการกับการดื้อยาต้านจุลชีพภายในปี 2573 ต่อไป

 _____________
1ยาต้านจุลชีพ คือ ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส โดยตัวอย่างยาต้านจุลชีพ เช่น ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะต่าง ๆ
องค์กรสี่ฝ่าย (Quadripartite Organizations) ประกอบด้วย WHO องค์การอนามัยสัตว์โลก (World Organization for Animal Health: WOAH) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP)
 
28. เรื่อง ร่างพิธีสารแก้ไขและขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (Protocol to Amend and Extend the ASEAN Memorandum of Understanding on the Trans - ASEAN Gas Pipeline Project)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างพิธีสารแก้ไขและขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (Protocol to Amend and Extend the ASEAN Memorandum of Understanding on the Trans - ASEAN Gas Pipeline Project) (ร่างพิธีสารฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างพิธีสารดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้ พน. นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมถึงอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้ลงนามในพิธีสารฯ โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ลงนามพิธีสารดังกล่าวข้างต้น ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   เรื่องนี้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างพิธีสารแก้ไขและขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (ร่างพิธีสารฯ) เพื่อขยายระยะเวลาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน (บันทึกความเข้าใจฯ) (ฉบับเดิม) ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาการบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 อย่างไรก็ดีโดยที่สถานการณ์พลังงานในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงเนื้อหาของบันทึกความเข้าใจฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การกำหนดให้ก๊าซธรรมชาติหมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติเหลว ทั้งนี้ การปรับแก้ไขดังกล่าวจะช่วยอาเซียนมีกรอบในการดำเนินความร่วมมือด้านปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้อง กับบริบทปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการผลักดันและแสวงหาความร่วมมือด้านก๊าซ ก๊าซธรรมชาติเหลว โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี อาทิ การจัดหาก๊าซธรรมชาติร่วมกัน การแลกเปลี่ยนก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก๊าซและก๊าซธรรมชาติเหลว และการลงทุนในโครงการก๊าซธรรมชาติที่มีศักยภาพ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับไทย รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางก๊าซธรรมชาติเหลวและศักยภาพการแข่งขันในตลาดก๊าซธรรมชาติเหลวของไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่มีข้อขัดข้อง ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดย สศช. เห็นว่าการให้ความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภคด้านก๊าซธรรมชาติต้องอยู่บนหลักการที่ได้คำนึงถึงความสามารถในการรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติภายในประเทศเป็นลำดับแรก เพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศและส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาดก๊าซธรรมชาติเหลวของประเทศ

 

แต่งตั้ง

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ  (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                   1. นายมนตรี ดีมานพ ผู้อำนวยการสำนักงาน (ผู้อำนวยการสูง) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สศช. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สศช. ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2567
                   2. นางสาวจินนา ตันศราวิพุธ ผู้อำนวยการสำนักงาน (ผู้อำนวยการสูง) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สศช. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สศช. ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567
                   3. นายสุรรัฐ เนียมกลาง ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สศช. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สศช. ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2567
                   ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
30. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายดนุชา พิชยนันท์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สศช. สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2567 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1)
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
 
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพลังงาน)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นางพัทธ์ธีรา   สายประทุมทิพย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายวันนี นนท์ศิริ ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)
                   คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง  ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง (กค.) ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 9 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                   1. นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์
                   2. นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพสามิต
                   3. นายปิ่นสาย สุรัสวดี รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพากร
                   4. นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   5. นางสาวศุกร์ศิริ อภิญญานุวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   6. นางสาวพิมพ์เพ็ญ ลัดพลี ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์  (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   7. นายธีรลักษ์ แสงสนิท ผู้ตราจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   8. นายอรรถพล อรรถวรเดช ที่ปรึกษาการคลัง (นักวิชาการคลังทรงคุณวุฒิ)  สำนักงานปลัดกระทรวง ตำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   9. นางสาวชุติมา ศรีปราชญ์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารเหรียญกษาปณ์และทรัพย์สิน มีค่า (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
34. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ครั้งที่ 1)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ  พิจารณาอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร  ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่  30 กันยายน 2567 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
 
35. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบการต่อเวลา 1 ปี (ครั้งที่ 1) ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
 
36. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (นักบริหารการทูตระดับสูง) (กระทรวงการต่างประเทศ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอ  การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต  ณ  กรุงเทลอาวีฟ รัฐอิสราเอล ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบการต่อเวลา 1 ปี (ครั้งที่ 1) ในวันที่ 30 กันยายน 2567 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
 
37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 8 ราย  เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน และทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ดังนี้
                   1. นายถาวร ทันใจ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง   รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   2. นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   3. นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                   4. นายนวนิตย์ พลเคน รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง  อธิบดีกรมหม่อนไหม
                   5. นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
                   6. นายชัยวัฒน์ โยธคล ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
                   7. นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน
                   8. นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทาน
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                   1. นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   2. นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
                   3. นางปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   4. นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
                   ทั้งนี้ ลำดับที่ 1 - 3 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป และลำดับที่ 4 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
                   ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                   1. ร้อยตรี จักรา ยอดมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทระทรวง
                   2. นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
                   3. นายวิทยากร มณีเนตร ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง   อธิบดีกรมการค้าภายใน
                   4. นางสาวนุสรา กาญจนกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา
                   5. นางอารดา เฟื่องทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
                   6. นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   7. นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอรับโอน ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
41. เรื่อง  การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย จำนวน 2 ราย ดังนี้ 
                   1. นางนลินี  ทวีสิน 
                   2. นายชัย วัชรงค์
                   ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2567 เป็นต้นไป
 
42. เรื่อง การให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร   (Chief Executive Officer, CEO) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                   1. แต่งตั้ง นายพิพัฒน์ จิรพงศ์พิพัฒน์ วิศวกรปิโตรเลียมชำนาญการพิเศษปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองสัญญาแบ่งปันผลผลิต  สังกัดกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (Chief Executive Officer, CEO) ขององค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ตั้งแต่วันที่                  1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2571
                   2. ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ที่องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ให้ นายพิพัฒน์ จิรพงศ์พิพัฒน์  ได้รับการพิจารณาความดีความชอบจากทางราชการต้นสังกัดด้วย และในกรณีที่จำเป็น พน. อาจให้กลับมาปฏิบัติงานในหน่วยงานต้นสังกัดก่อนระยะเวลาที่สั่งให้ไปสิ้นสุดลงเพื่อประโยชน์แก่ราชการได้   ทั้งนี้ ในระหว่างที่ไปปฏิบัติงานให้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการจากองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียโดยไม่รับเงินเดือนจากทางราชการ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   พน. รายงานว่า
                   1. รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งมาเลเซียได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ขึ้นเพื่อร่วมกันแสวงประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย โดยตามโครงสร้างการบริหารงานองค์กรร่วมตามที่รัฐบาลทั้งสองได้ให้ความเห็นชอบไว้กำหนดให้มีการสลับหมุนเวียนตำแหน่งหัวหน้าและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ระหว่างคนไทยและคนมาเลเซียทุก ๆ 4 ปี ซึ่งวาระการดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่/ฝ่ายบริหาร (CEO) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย สำหรับ 4 ปีต่อไป (1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2571) จะเป็นวาระของประเทศไทย
                   2. เนื่องจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่หน้าที่ฝ่ายบริหาร (CEO)  ขององค์กรร่วม ไทย - มาเลเซีย ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนาย Emi Suhardi bin Mohd Fadzil  ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายมาเลเซียเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ จะดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี  ในวันที่ 30 กันยายน 2567 และจะต้องมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวในวาระถัดไป โดยตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (CEO) ขององค์กรร่วมไทย – มาเลเซียเป็นของฝ่ายไทย รัฐบาลไทยจึงต้องมีการเสนอแต่งตั้งบุคคลฝ่ายไทยเพื่อเข้าดำรงตำแหน่ง
                   3. พน. พิจารณาแล้วเห็นว่า นายพิพัฒน์ จิรพงศ์พิพัฒน์ วิศวกรปิโตรเลียมชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองสัญญาแบ่งปันผลผลิต สังกัดกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (CEO) ขององค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย เนื่องจากมีประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โดยที่การแต่งตั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (CEO)                   ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลทั้งสองก่อน องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย จึงจะสามารถทำการแต่งตั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้


ที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/88363